โรคเบาหวาน โรคเบาหวานเป็นสาเหตุหลักของโรคไตเรื้อรัง ระดับกลูโคสในเลือดสูงหรือที่เรียกว่าน้ำตาลในเลือดจากโรคเบาหวานสามารถทำลายหลอดเลือดที่ไตของท่านได้ ผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน
1 ใน 3 รายเป็นโรคไตเรื้อรัง1
ภาวะความดันโลหิตสูง ภาวะความดันโลหิตสูงเป็นสาเหตุอันดับที่สองของโรคไตเรื้อรัง เช่นเดียวกับระดับกลูโคสในเลือดสูง ภาวะความดันโลหิตสูงยังสามารถทำลายหลอดเลือดที่ไตของท่านได้เช่นกัน เกือบ 1 ใน 5 รายของผู้ใหญ่ที่มีความดันโลหิตสูงเป็นโรคไตเรื้อรัง1
โรคหัวใจ การวิจัยระบุความเชื่อมโยงระหว่างโรคไตและโรคหัวใจ ผู้ที่เป็นโรคหัวใจมีความเสี่ยงเป็นโรคไตสูงกว่า และผู้ที่เป็นโรคไตมีความเสี่ยงเป็นโรคหัวใจสูงกว่า นักวิจัยกำลังทำงานเพื่อทำความเข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างโรคไตและโรคหัวใจได้ดีขึ้น
ประวัติครอบครัวมีภาวะไตล้มเหลว หากบิดา มารดา พี่สาวน้องสาว หรือพี่ชายน้องชายของท่านมีภาวะไตล้มเหลว ท่านมีความเสี่ยงต่อโรคไตเรื้อรัง โรคไตมีแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นในครอบครัว หากท่านเป็นโรคไต สนับสนุนให้สมาชิกในครอบครัวเข้ารับการตรวจ ท่านอาจใช้เคล็ดลับจาก คู่มือ family health reunion[TPT1] และพูดคุยกับครอบครัวของท่านในช่วงรวมญาติเนื่องในโอกาสพิเศษ
โรคไตเรื้อรังระยะแรกอาจไม่แสดงอาการใด ๆ
ท่านอาจแปลกใจว่าท่านเป็นโรคไตเรื้อรังและยังรู้สึกเป็นปกติดี ไตของเราสามารถทำงานได้มากกว่าความสามารถปกติเพื่อให้เรายังคงมีสุขภาพดี ตัวอย่างเช่น ท่านสามารถบริจาคไตหนึ่งข้างและยังคงมีสุขภาพที่ดีได้ นอกจากนี้ ไตของท่านอาจถูกทำลายโดยไม่แสดงอาการใด ๆ เนื่องจากไตของท่านยังคงทำงานได้เพียงพอเพื่อให้ท่านรู้สึกเป็นปกติ แม้ว่าจะถูกทำลายก็ตาม สำหรับหลาย ๆ คน วิธีเดียวที่จะทราบว่าท่านเป็นโรคไตหรือไม่คือเข้ารับการตรวจไตด้วยการตรวจเลือดและปัสสาวะ
ในขณะที่ไตแย่ลง ผู้ป่วยอาจมีอาการบวมที่เรียกว่า อาการบวมน้ำ อาการบวมน้ำเกิดขึ้นเมื่อไตไม่สามารถขจัดของเหลวและเกลือส่วนเกินได้ อาการบวมน้ำสามารถเกิดขึ้นได้ที่ขา เท้า หรือข้อเท้า รวมถึงมือหรือใบหน้าซึ่งพบได้น้อยกว่า
เจ็บหน้าอก
ผิวแห้ง
อาการคันหรือชา
รู้สึกเหนื่อย
ปวดศีรษะ
ปัสสาวะเพิ่มขึ้นหรือลดลง
เบื่ออาหาร
ตะคริวที่กล้ามเนื้อ
คลื่นไส้
หายใจลำบาก
ปัญหาเกี่ยวกับการนอนหลับ
ไม่มีสมาธิ
อาเจียน
น้ำหนักลด
นอกจากนี้ ผู้ที่เป็นโรคไตเรื้อรังอาจเกิดภาวะโลหิตจาง โรคเกี่ยวกับกระดูก และภาวะทุพโภชนาการได้เช่นกัน
โรคไตอาจเป็นสาเหตุให้เกิดปัญหาสุขภาพอื่น ๆ เช่น โรคหัวใจ หากท่านเป็นโรคไต ท่านมีโอกาสเกิดโรคหลอดเลือดสมอง หรือ ภาวะหัวใจวายสูงขึ้น
ภาวะความดันโลหิตสูง อาจเป็นสาเหตุของโรคไตหรือเป็นผลจากโรคไต ภาวะความดันโลหิตสูงทำลายไตของท่านและไตที่ถูกทำลายจะไม่สามารถทำงานเพื่อช่วยควบคุมความดันโลหิตของท่านได้
หากท่านเป็นโรคไตเรื้อรัง ท่านมีโอกาสสูงกว่าที่จะมีการทำงานของไตเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลันที่มีสาเหตุจากความเจ็บป่วย การบาดเจ็บ หรือยาบางตัวได้ ภาวะนี้เรียกว่า การบาดเจ็บของไตฉับพลัน (acute kidney injury, AKI)
แพทย์ของท่านจะพูดคุยเกี่ยวกับประวัติส่วนตัวและประวัติครอบครัวกับท่าน ซึ่งเป็นขั้นตอนแรกในการวินิจฉัยโรคไต สิ่งสำคัญที่สุด แพทย์ของท่านอาจถามคำถามว่าท่านได้รับการวินิจฉัยเป็นภาวะความดันโลหิตสูงหรือไม่ ท่านได้มีการใช้ยาที่อาจส่งผลต่อการทำงานของไตหรือไม่ ท่านได้สังเกตเห็นการเปลี่ยนแปลงการปัสสาวะของท่านหรือไม่ และท่านมีสมาชิกในครอบครัวเป็นโรคไตหรือไม่
ลำดับถัดไป แพทย์ของท่านจะทำการตรวจร่างกาย ตรวจสอบอาการแสดงของปัญหาเกี่ยวกับหัวใจหรือหลอดเลือดของท่าน และทำการตรวจระบบประสาท
สำหรับการวินิจฉัยโรคไต ท่านยังอาจจำเป็นต้องได้รับการตรวจและขั้นตอนบางอย่าง เช่น:
การตรวจเลือด การตรวจการทำงานของไตเพื่อหาปริมาณของเสีย เช่น ครีเอตินีนและยูเรียในเลือดของท่าน
การตรวจปัสสาวะ การวิเคราะห์ตัวอย่างปัสสาวะของท่านอาจแสดงให้เห็นถึงความผิดปกติที่บ่งชี้ถึงภาวะไตล้มเหลวเรื้อรังและช่วยระบุสาเหตุของโรคไตเรื้อรังได้
การตรวจด้วยภาพถ่าย แพทย์ของท่านอาจใช้อัลตร้าซาวด์ เพื่อประเมินโครงสร้างและขนาดไต และอาจใช้การตรวจด้วยภาพถ่ายวิธีอื่น ๆ ในบางกรณี
การเก็บตัวอย่างเนื้อเยื่อไตสำหรับการตรวจ แพทย์ของท่านอาจแนะนำให้ทำการเก็บชิ้นเนื้อเพื่อเก็บตัวอย่างเนื้อเยื่อจากไต การเก็บตัวอย่างชิ้นเนื้อจากไตมักดำเนินการด้วยยาชาเฉพาะที่ โดยใช้เข็มที่บางและยาวแทงผ่านผิวหนังของท่านเข้าในเนื้อไต ตัวอย่างจากการเก็บตัวอย่างชิ้นเนื้อจะถูกส่งไปยังห้องปฏิบัติการเพื่อช่วยระบุสาเหตุของโรคไต
โรคไตบางชนิดสามารถรักษาได้ขึ้นอยู่กับโรคที่เป็นอยู่เดิม แม้ว่าบ่อยครั้งที่โรคไตเรื้อรังจะไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ก็ตาม โดยปกติแล้วการรักษาจะประกอบด้วยวิธีการต่าง ๆ ที่ช่วยควบคุมอาการแสดงและอาการ ลดภาวะแทรกซ้อน และชะลอการดำเนินโรค หากไตของท่านถูกทำลายอย่างรุนแรง ท่านอาจจำเป็นต้องได้รับการรักษาสำหรับโรคไตระยะสุดท้าย
ทางเลือกการรักษานั้นแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับสาเหตุ แต่การทำลายไตอาจแย่ลงต่อเนื่อง แม้ว่าโรคที่เป็นอยู่เดิม เช่น ภาวะความดันโลหิตสูงจะสามารถควบคุมได้ก็ตาม
ภาวะแทรกซ้อนจากโรคไตสามารถควบคุมได้เพื่อทำให้ท่านรู้สึกสบายมากขึ้น การรักษาอาจรวมถึง:
ยาลดความดันโลหิตสูง ผู้ที่เป็นโรคไตอาจมีภาวะความดันโลหิตสูงแย่ลง แพทย์ของท่านอาจแนะนำยาที่ช่วยลดความดันโลหิต ซึ่งตามปกติมักเป็นยาในกลุ่มยับยั้งแองจิโอเทนซิน-คอนเวอร์ตติ้ง เอนไซม์ (angiotensin-converting enzyme, ACE) หรือยาในกลุ่มปิดกั้นตัวรับแองจิโอเทนซิน II (angiotensin II receptor blockers) และยาที่ช่วยคงสภาพการทำงานของไต ยาลดความดันโลหิตสูงสามารถลดการทำงานของไตได้ในช่วงแรกและเปลี่ยนแปลงระดับอิเล็กโทรไลต์ ดังนั้นท่านจึงจำเป็นต้องรับการตรวจเลือดบ่อยครั้งเพื่อเฝ้าติดตามภาวะของท่าน นอกจากนี้ แพทย์ของท่านจะแนะนำยาขับน้ำ (ยาขับปัสสาวะ) และอาหารที่มีเกลือต่ำ
ยาที่ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอล แพทย์ของท่านอาจแนะนำยาที่เรียกว่า ยาในกลุ่มสแตติน เพื่อช่วยลดคอเลสเตอรอลของท่าน ผู้ที่เป็นโรคไตเรื้อรังมักมีคอเลสเตอรอลไม่ดีอยู่ในระดับสูง ซึ่งสามารถเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคหัวใจได้
ยาที่ใช้รักษาภาวะโลหิตจาง ในบางสถานการณ์ แพทย์ของท่านอาจแนะนำให้เสริมฮอร์โมนอิริโธรโพอิติน (อิ-ริ-โธร-โพ-อิ-ติน) และอาจให้ธาตุเหล็กเสริมในบางครั้ง การเสริมอิริโธรโพอิตินช่วยให้สร้างเม็ดเลือดแดงได้มากขึ้น ซึ่งอาจบรรเทาอาการเหนื่อยล้าและความอ่อนแรงที่เกิดจากภาวะโลหิตจางได้
ภาวะโลหิตจางเป็นภาวะแทรกซ้อนที่พบบ่อยในโรคไตเรื้อรัง (CKD) และสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยที่ลดลง เป็นสาเหตุของความเจ็บป่วยและการเสียชีวิตที่เพิ่มขึ้น และเร่งให้โรคไตเรื้อรังมีอัตราการดำเนินการโรคเร็วขึ้น ในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง ภาวะโลหิตจางหมายถึงสถานการณ์ที่ความเข้มข้นของฮีโมโกลบิน (hemoglobin, Hb) ในเลือดต่ำกว่าค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานของ Hg[TPT1] เฉลี่ยจากประชากรทั่วไปที่ปรับแก้ค่าตามอายุและเพศอยู่ 2 เท่า
ยาบรรเทาอาการบวม ผู้ที่เป็นโรคไตเรื้อรังอาจมีการคั่งของของเหลว ซึ่งสามารถทำให้มีอาการบวมที่ขาและมีความดันโลหิตสูง ยาที่เรียกว่ายาขับปัสสาวะสามารถช่วยควบคุมของเหลวในร่างกายให้อยู่ในระดับสมดุล
ยาที่ช่วยปกป้องกระดูก แพทย์ของท่านอาจสั่งจ่ายผลิตภัณฑ์เสริมแคลเซียมและวิตามินดี เพื่อป้องกันไม่ให้กระดูกอ่อนแอและลดความเสี่ยงต่อภาวะกระดูกหัก นอกจากนี้ ท่านยังอาจได้รับยาที่เรียกว่า ยาจับฟอสเฟต เพื่อลดปริมาณฟอสเฟตในเลือดของท่านและปกป้องหลอดเลือดของท่านจากการทำลายโดยการสะสมของแคลเซียม (การมีแคลเซียมเกาะ)
อาหารที่มีโปรตีนต่ำเพื่อลดของเสียในเลือดของท่าน ขณะที่ร่างกายของท่านเปลี่ยนแปลงโปรตีนที่ได้จากอาหาร ร่างกายจะสร้างของเสียที่ไตของท่านจะต้องกรองออกจากเลือด เพื่อลดการทำงานของไต แพทย์ของท่านอาจแนะนำให้รับประทานโปรตีนน้อยลง นอกจากนี้ แพทย์ของท่านยังอาจขอให้ท่านพบนักกำหนดอาหารซึ่งสามารถแนะนำวิธีลดปริมาณโปรตีนที่ท่านรับประทาน แต่ยังคงรับได้รับสารอาหารที่ดีต่อสุขภาพได้
หากไตของท่านไม่สามารถจัดการกับของเสียและขจัดของเหลวได้ด้วยตัวเอง และท่านอยู่ในภาวะไตล้มเหลวโดยสมบูรณ์หรือเกือบสมบูรณ์ ท่านเป็นโรคไตล้มเหลวระยะสุดท้าย ณ จุดเวลานั้น ท่านจำเป็นต้องรับการฟอกไตหรือปลูกถ่ายไต
การฟอกไต การฟอกไตจำลองการนำของเสียและของเหลวส่วนเกินออกจากเลือดของท่าน เมื่อไตของท่านไม่สามารถทำหน้าที่เหล่านี้ได้อีกต่อไป ในการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม เครื่องจะกรองของเสียและของเหลวส่วนเกินออกจากเลือดของท่าน ในการฟอกไตทางหน้าท้อง จะมีการสอดท่อขนาดเล็ก (สายสวน) เข้าไปในท้องของท่าน เติมน้ำยาล้างไตที่ดูดซับของเสียและของเหลวส่วนเกินเข้าในช่องท้องของท่าน หลังจากเวลาผ่านไปช่วงหนึ่ง จึงปล่อยน้ำยาล้างไตที่นำของเสียออกจากร่างกายท่าน
การปลูกถ่ายไต การปลูกถ่ายไตเกี่ยวข้องกับการผ่าตัดเปลี่ยนไตที่มีสุขภาพดีจากผู้บริจาคอวัยวะเข้าไปในร่างกายของท่าน ไตที่ปลูกถ่ายอาจมาจากผู้ที่เสียชีวิตแล้วหรือผู้ให้อวัยวะที่มีชีวิตอยู่ ท่านจะจำเป็นต้องรับประทานยาตลอดชีวิต เพื่อป้องกันไม่ให้ร่างกายท่านปฏิเสธอวัยวะใหม่ เพื่อให้ได้รับการปลูกถ่ายไต ท่านไม่จำเป็นต้องเข้ารับการฟอกไต
แพทย์ของท่านอาจแนะนำอาหารเฉพาะเพื่อช่วยไตและจำกัดการทำงานของไตซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการรักษาโรคไตเรื้อรัง ท่านสามารถขอให้แพทย์ส่งต่อท่านเพื่อปรึกษากับนักกำหนดอาหาร ซึ่งสามารถวิเคราะห์อาหารในปัจจุบันของท่านและแนะนำวิธีการปรับอาหารเพื่อให้ไตสามารถทำงานได้ง่ายขึ้น ขึ้นกับสถานการณ์ การทำงานของไตและสุขภาพโดยรวม นักกำหนดอาหารอาจแนะนำให้ท่าน:
หลีกเลี่ยงผลิตภัณฑ์ที่ใส่เกลือ ลดปริมาณโซเดียมที่ท่านรับประทานในแต่ละวัน โดยหลีกเลี่ยงผลิตภัณฑ์ที่ใส่เกลือ รวมถึงอาหารสะดวกซื้อ เช่น อาหารเย็นแช่แข็ง ซุปกระป๋อง และอาหารจานด่วน อาหารอื่น ๆ ที่ใส่เกลือ รวมถึงอาหารขบเคี้ยวที่มีรสชาติเค็ม ผักกระป๋อง ตลอดจนเนื้อและชีสที่ผ่านการกระบวนการ
เลือกอาหารที่มีโพแทสเซียมต่ำ นักกำหนดอาหารของท่านอาจแนะนำให้ท่านเลือกอาหารที่มีโพแทสเซียมต่ำในแต่ละมื้อ อาหารที่มีโพแทสเซียมสูง ได้แก่ กล้วย ส้ม มันฝรั่ง ผักโขมและมะเขือเทศ ตัวอย่างอาหารที่มีโพแทสเซียมต่ำ ได้แก่ แอปเปิ้ล กะหล่ำปลี แครอท ถั่วเขียว องุ่น และสตรอเบอร์รี่ พึงตระหนักว่าสารทดแทนเกลือหลายชนิดประกอบด้วยโพแทสเซียม ดังนั้นท่านจึงควรหลีกเลี่ยงอาหารเหล่านี้ หากท่านมีภาวะไตล้มเหลว
จำกัดปริมาณโปรตีนที่ท่านรับประทาน นักกำหนดอาหารจะประมาณจำนวนกรัมที่เหมาะสมของโปรตีนที่ท่านต้องการในแต่ละวัน และให้คำแนะนำโดยอ้างอิงจากปริมาณนั้น อาหารที่มีโปรตีนสูง ได้แก่ เนื้อไร้มัน ไข่ นม ชีส และถั่ว อาหารที่มีโปรตีนต่ำ ได้แก่ ผัก ผลไม้ ขนมปัง และธัญพืช
M-TH-00002040
References
ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรค เอกสารข้อมูลโรคไตเรื้อรังระดับประเทศปี 2560
เชื้อชาติ ชาติพันธุ์ โรคไต เวปไซต์NIDDK
This website contains information on products which is targeted to a wide range of audiences and could contain product details or information otherwise not accessible or valid in your country. Please be aware that we do not take any responsibility for accessing such information which may not comply with any legal process, regulation, registration or usage in the country of your origin. which is targeted to a wide range of audiences and could contain product details or information otherwise not accessible or valid