มะเร็งต่อมน้ำเหลือง

มะเร็งต่อมน้ำเหลือง (Lymphoma) คืออะไร มะเร็งต่อมน้ำเหลือง คือ เนื้องอกของระบบน้ำเหลืองในร่างกาย ระบบน้ำเหลือง (Lymphoma System) จัดเป็นส่วนนึงของระบบภูมิคุ้มกันประกอบประด้วยอวัยวะน้ำเหลือง อันได้แก่ ม้าม,ไขกระดูก, ต่อมทอนซิล, ต่อมไทมัส, ภายในอวัยวะเหล่านี้จะเต็มไปด้วยน้ำเหลือง ซึ่งมีหน้าที่นำสารอาหาร และเซลล์เม็ดเลือดขาว (Lymphocyte) ไปทั่วร่างกาย ความผิดปกติของเม็ดเลือดขาวเหล่านี้ ทำให้เกิดเป็นมะเร็งต่อมน้ำเหลืองขึ้น

มะเร็งต่อมน้ำเหลือง แบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ มะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิดฮอดจ์กิน (Hodgkin Lymphoma) และ ชนิดนอนฮอดจ์กิน (Non-Hodgkin Lymphoma) โดยส่วนใหญ่ในประเทศไทยจะพบ มะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิดนอนฮอดจ์กิน (Non-Hodgkin Lymphoma)

มะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิดนอนฮอดจ์กิน (Non-Hodgkin Lymphoma) มะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิดนี้ สามารถแบ่งออกได้เป็น 30 ชนิดย่อย ถ้าอาศัยอัตราการเจริญของตัวมะเร็งแล้ว จะสามารถแบ่งมะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิดนอนฮอดจ์กินออกได้เป็น 2 ชนิด คือ

  1. ชนิดค่อยเป็นค่อยไป (Indolent) มะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิดนี้จะมีอัตราการแบ่งตัวของมะเร็งค่อนข้างช้า แต่มักจะไม่หายขาดด้วยการรักษาที่มีอยู่ในปัจจุบัน

  2. ชนิดรุนแรง (Aggressive) มะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิดนี้จะมีอัตราการแบ่งตัวของมะเร็งเร็วถ้าไม่ได้รับการรักษาผู้ป่วยอาจเสียชีวิตได้ภายใน 6 เดือนถึง 2 ปี ข้อแตกต่างจากมะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิดค่อยเป็นค่อยไป คือ มะเร็งต่อน้ำเหลืองชนิดรุนแรงมีโอกาศที่จะหายขาดจากโรคได้ถ้าได้รับการรักษา

ปัจจัยเสี่ยง คือ ภาวะที่ทำให้มีโอกาสเกิดโรคมากขึ้น แต่ไม่ได้หมายความว่าการที่มีปัจจัยเสี่ยงข้อใดข้อหนึ่งแล้วจะต้องเกิดโรคนั้นเสมอไป ในปัจจุบันนี้ยังไม่สามารถบอกสาเหตุของมะเร้งต่อมน้ำเหลืองทุกรายได้อย่างชัดเจนแต่พบมีความสัมพันธ์กับหลายภาวะ ได้แก่

  • อายุ: อุบัติการณ์ของมะเร้งต่อมน้ำเหลืองเพิ่มขึ้น เมื่ออายุมากขึ้นโดยอุบัติการณืสูงสุดอยู่ที่ช่วงอายุ 60-70 ปี

  • เพศ: เพศชายพบเป็นมะเร็งต่อมน้ำเหลืองมากกว่าเพศหญิง

  • การติดเชื้อ พบความสัมพันธ์ระหว่างมะเร็งต่อมน้ำเหลืองบางชนิดกับการติดเชื้อ เช่น การติดเชื้อแบคทีเรีย Helicobacter pylori กับมะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิด MALT lymphoma การติดเชื้อไวรัส EBV กับมะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิด Burkitt

  • ภาวะพร่องภูมิคุ้มกันของร่างกาย ผู้ป่วย HIV พบอุบัติการณ์ของมะเร็งต่อมน้ำเหลืองเพิ่มขึ้น

  • โรคภูมิแพ้ตนเอง (Autoimmune disease) ผู้ป่วย SLE พบอุบัติการณ์ของมะเร็งต่อมน้ำเหลืองเพิ่มขึ้น

  • การสัมผัสสารเคมี เช่น ยาฆ่าแมลงจะเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งต่อมน้ำเหลือง

เนื่องจากอาการของมะเร็งต่อมน้ำเหลืองสามารถพบได้ในหลายภาวะ เช่น การติดเชื้อ ดังนั้นจึงมีผู้ป่วยบางส่วนที่ไม่ได้รับการวินิจฉัยและรักษาที่ถูกต้อง แต่โดยทั่วไปอาการของมะเร็งต่อมน้ำเหลือง มักจะกินเวลา และไม่สามารถอธิบายได้จากสาเหตุอื่น

อาการเริ่มต้นของมะเร็งต่อมน้ำเหลือง

  • การพบก้อนที่บริเวณต่างๆของร่างกาย เช่น ที่คอ รักแร้ ขาหนีบ โดยก้อนที่เป็นมะเร็งต่อมนั้นมักไม่เจ็บ ซึ่งต่างจากการติดเชื้อ ที่มักมีอาการเจ็บที่ก้อน

  • ไข้ หนาวสั่น

  • มีเหงื่อออกมากตอนกลางคืน

  • เบื่ออาหาร และน้ำหนักลด

  • อ่อนเพลียโดยไม่ทราบสาเหตุ

  • ไอเรื้อรัง และหายใจไม่สะดวก

  • ต่อมทอนซิลโต

  • อาการคัยทั่วร่างกาย

  • ปวดศรีษะ (พบในมะเร็งต่อมน้ำเหลืองในระบบประสาท)

การวินิจฉัยมะเร็งต่อมน้ำเหลืองจะเริ่มต้นจากการซักประวัติและการตรวจร่างกาย จากนั้นจะพิจารณาสืบค้นเพิ่มเติมอีก ได้แก่

  1. การตัดชิ้นเนื้อเพื่อตรวจทางพยาธิวิทยา (ฺBiopsy)

  2. การตรวจไขกระดูก ( Bone marrow biopsy)

  3. การตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ ( PET scan หรือ CT scan)

  4. การเจาะเลือดเพื่อดูผลเลือดต่างๆ

ซึ่งผลการตรวจทั้งหมดจะนำมาประเมินระยะของโรค เพื่อเป็นแนวทางในการพยากรณ์โรคและการรักษาโรคต่อไป

แพทย์ผู้ทำการรักษาจะรวบรวมข้อมูลทั้งหมดจากการสืบค้นเพิ่มเติม แล้วนำมาประมวลว่าผู้ป่วยอยู่ในระยะใดของโรค เพื่อนำมาเป็นแนวทางในการวางแผนการรักษาต่อ ระยะของมะเร็งต่อมน้ำเหลืองแบ่งออกเป็น 4 ระยะ

ระยะที่ 1: มีรอยโรคที่ต่อมน้ำเหลืองหรือนอกต่อมน้ำเหลืองเพียงบริเวณเดียว

ระยะที่ 2: มีรอยโรคที่ต่อมน้ำเหลืองหรือนอกต่อมน้ำเหลืองตั้งแต่2 ตำแหน่งขึ้นไป โดยต้องอยู่ภายในด้านเดียวกันของกะบังลม

ระยะที่ 3: มีรอยโรคที่ต่อมน้ำเหลืองหรือนอกต่อมน้ำเหลือที่อยู่คนละด้านของกะบังลม และ/หรือพบรอยโรคที่ม้ามร่วมด้วย

ระยะที่ 4: มีรอยโรคกระจายออกไปเกินตำแหน่งเริ่มต้นที่พบ ตำแหน่งที่พบการกระจายได้บ่อย เช่น ตับ, ไขกระดูก, หรือปอด

นอกเหนือจากการประเมินระยะของโรคแล้ว แพทย์ผู้รักษาจะอาศัยข้อมูลอื่นๆของผู้ป่วยเพื่อนำมาคำนวณหาดัชนีประเมินการพยากรณ์โรคเพิ่มเติมด้วย ซึ่งจะสามารถแบ่งกลุ่มผู้ป่วยออกเป็นกลุ่มเสี่ยงสูงและกลุ่มเสี่ยงต่ำ

การรักษามะเร็งต่อมน้ำเหลืองมีหลายวิธีประกอบกัน ซึ่งขค้นอยู่กับชนิด และระยะของมะเร็งต่อมน้ำเหลืองการรักษาที่จะกล่าวถึงต่อไปนี้สามารถใช้ได้ทั้งเป็นการรักษาแบบเดียว หรือการรักษาแบบผสมผสาน

  1. การเฝ้าติดตามโรค (Watch&Wait)
    การเฝ้าติดตามโรคมักใช้ในมะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิดค่อยเป็นค่อยไป (Indolent) หรือในรายที่ผู้ป่วยมีอาการจากตัวโรคไม่มาก ระหว่างการเฝ้าติดตามโรค จะมีการตรวจเลือด หรือตรวจทางรังสีเป็นระยะๆ

  2. การรักษาด้วยยาเคมีบำบัด (Chemotherapy)
    ยาเคมีบำบัดจะทำลายเซลล์มะเร็ง โดยไปรบกวนกรแบ่งตัวของเซลล์มะเร็งการเลือกชนิดของยาเคมีบำบัดนั้นจะขึ้นอยู่กับชริดของมะเร็งต่อมน้ำเหลือง โดยทั่วไปการรักษามะเร็งต่อมน้ำเหลืองมักจะได้ยาเคมีบำบัดหลายขนานรวมกัน หรืออาจให้ร่วมกับการรักาด้วยแอนติบอดี (Monoclonal Antibodies)

  3. การรักษาด้วยยาโมโนโคลนอลแอนติบอดี (Monoclonal Antibodies)
    ยาโมโนโคลแอนติบอดี คือ สารสังเคราะห์ที่จะไปจับกับโปรตีนบนผิวของเซวล์มะเร็งหลังจากนั้นจะมีการกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย เพื่อมากำจัดเซลล์มะเร็งนั้น

  4. การรักษาด้วยการฉายรังสี (Radiation Therapy) คือการรักษาด้วยการใช้รังสีปริมาณสูง เพื่อทำลายเซลล์มะเร็ง

  5. การรักษาด้วยการปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิด (Tranplantation)
    หลักการของการรักษาด้วยการปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิด คือ การทำลายเซลล์มะเร็งให้หมดไป แล้วแทนที่ด้วยเซลล์ที่ปกติ การปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิด แบ่งออกเป็น 2 ชนิด ได้แก่
    5.1 การปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิด โดยอาศัยเซลล์ของผู้บริจาค (Allogeneic transplantation)
    5.2 การปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิด โดยอาศัยเซลล์ของผู้ป่วยเอง (Autologous transplantation)

  1. การรับประทานอาหาร

    - ควรเลือกรับประทานอาหารที่สะอาด และทำสุกใหม่ๆ

    - ไม่ควรรับประทานอาหารที่เก็บไว้นานโดยไม่ได้อุ่นให้เดือดใหม่หรืออาหารแห้ง ที่ไม่แน่ใจว่าทำเสร็จใหม่ เช่น ขนมตามร้านค้า

    - ควรเลือกรับประทานผลไม้ที่มีเปลือกหนา เช่น ส้ม กล้วย โดยต้องล้างทำความสะอาดก่อนทุกครั้ง

    - ไม่ควรรับประทานผลไม้ที่มีเปลือกบาง เช่น ฝรั่ง องุ่น หรือผลไม้ที่ไม่สามารถทำความสะอาดได้ เช่น สับปะรด

    - ควรล้างมือให้สะอาดก่อนรับประทานอาหารทุกครั้ง

    - ควรงดการบริโภคเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์

  2. การออกกำลังกาย

    - สามารถออกกำลังกายเท่าที่ทนได้ ไม่ควรหักโหม อาจทำไม่ได้เท่าเดิม แต่ภายหลังการรักษาร่างการจะฟื้นตัวขึ้นได้สำหรับผู้ป่วยที่ไม่เคยออกกำลังกาย ไม่ควรอยู่แต่ภายในห้องนอนควรลุกเดินเล่นไปบ้าง เพื่อให้ปอดขยายตัวได้เต็มที่ ซึ่งการออกกำลังกายจะทำให้ผู้ป่วยฟื้นตัวได้เร็วขึ้น

  3. การทำความสะอาดร่างกาย

    - ควรอาบน้ำอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง

    - ใช้โลชั่นที่ไม่มีน้ำหอมทาผิวเพื่อป้องกันผิวแห้ง

    - แปรงฟันเบาๆ ด้วยแปรงที่มีขนแปลงอ่อนนุ่ม อย่างน้อย วันละ2 ครั้ง

    - ควรล้างทำความสะอาดบริเวณทวารหนักหลังถ่ายเสร็จทุกครั้งและใช้กระดาษชำระซับเบาๆให้แห้ง

  4. ทำจิตใจให้แจ่มใสอยู่เสมอ ปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัดและมาพบแพทย์อย่างสม่ำเสมอ

นอนหลับพักผ่อนอย่างเพียงพอ จะช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกันของร่างกาย

M-TH-00001990

รายละเอียดเพิ่มเติมสำหรับโรคเลือดออกง่าย

ดูรายละเอียดโรคมะเร็ง

ค้นหาเพิ่มเติม

This website contains information on products which is targeted to a wide range of audiences and could contain product details or information otherwise not accessible or valid in your country. Please be aware that we do not take any responsibility for accessing such information which may not comply with any legal process, regulation, registration or usage in the country of your origin. which is targeted to a wide range of audiences and could contain product details or information otherwise not accessible or valid

ติดต่อสาขาของโรชlinkedinfacebooktwitterinstagramyoutubeเกี่ยวกับโรชหน่วยธุรกิจยาร่วมงานกับเราข่าวสารบทความRoche Privacy PolicyRoche Privacy Notice (HCPs)Roche Privacy Policy for PatientsRoche Privacy Policy for Contract PartiesRoche Privacy & Communication TermsLegal statementCCTV Privacy