มะเร็งตับเป็นมะเร็งที่พบบ่อยที่สุดเป็นอันดับที่ 1 ในประเทศไทย
มะเร็งชนิดนี้มีอุบัติการณ์สูงสุดในผู้ชายและมะเร็งเซลล์ตับ (hepatocellular carcinoma, HCC) เป็นโรคมะเร็งตับชนิดปฐมภูมิที่พบส่วนใหญ่
ในแต่ละปีมีผู้ที่ได้รับการวินิจฉัยเป็นโรคมะเร็งเซลล์ตับมากกว่า 750,000 รายทั่วโลก ซึ่งพบโรคระยะสุดท้ายบ่อยที่สุด
การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี (Hepatitis B Virus, HBV) เป็นสาเหตุหลักของโรคมะเร็งเซลล์ตับในประเทศไทยและประเทศอื่น ๆ ในเอเชียตะวันออก
ในประเทศสหรัฐอเมริกาและบางประเทศในยุโรป มีอุบัติการณ์และจำนวนการเสียชีวิตจากโรคมะเร็งตับเพิ่มขึ้นในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา
ในประเทศสหรัฐอเมริกา การเพิ่มขึ้นของมะเร็งชนิดนี้เร็วกว่าโรคมะเร็งชนิดอื่น ๆ โดยเพิ่มเป็นสองเท่านับตั้งแต่ช่วงกลางทศวรรษ 1980 ซึ่งสาเหตุหนึ่งเกิดจากการเพิ่มขึ้นของอาหารที่มีไขมันสูง และโรคอ้วน ซึ่งเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ความเสี่ยงเพิ่มขึ้นทั่วโลก
โรคตับอักเสบบีและซี
อาหารที่มีไขมันสูงและโรคอ้วน
แอลกอฮอล์
สารอะฟลาท็อกซิน (เชื้อราที่เป็นสารก่อมะเร็งที่พบในอาหารปนเปื้อน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในข้าว)
โรคมะเร็งเซลล์ตับมักไม่แสดงอาการจนกว่าจะถึงระยะลุกลามของโรค แต่ในบางคนอาจมีอาการต่าง ๆ ดังนี้:
ปวดท้องหรืออาการกดเจ็บ
ฟกช้ำหรือเลือดออกง่าย
ท้องโต
น้ำหนักลดโดยไม่ทราบสาเหตุ
ดีซ่าน
โปรแกรมการเฝ้าระวังช่วยให้การรอดชีวิตดีขึ้น
ผู้ที่มีความเสี ่ยงสูงต่อการเกิดโรคมะเร็งตับอาจได้รับการตรวจอัลตร้าซาวด์ที่มีความไวเพียงพอสำหรับการตรวจหาก้อนขนาดเล็กในตับหรือได้รับการตรวจเลือดเพื่อหาระดับโปรตีน (AFP)
หากสงสัยว่าเป็นโรคมะเร็งตับ จะทำการวินิจฉัยอื่น ๆ ได้แก่:
ซีทีสแกนบริเวณช่องท้อง
เอ็มอาร์ไอสแกนบริเวณช่องท้อง
การเก็บตัวอย่างชิ้นเนื้อจากตับ
การรักษาผู้ที่เป็นโรคมะเร็งตับทุกระยะมีอยู่อย่างจำกัดและยิ่งน้อยลงเมื่อได้รับการวินิจฉัยที่ระยะลุกลาม ความจริงแล้วผู้ที่ได้รับการวินิจฉัยเป็นโรคมะเร็งเซลล์ตับระยะลุกลามน้อยกว่า 50% จะมีชีวิตรอดนานกว่าหนึ่งปีหลังจากได้รับการวินิจฉัย
การผ่าตัดเพื่อนำก้อนมะเร็งออก
การฉายรังสี
การปลูกถ่ายตับ
การให้ยาเคมีบําบัดผ่านทางสายสวน (Transarterial chemoembolization)
ยาเคมีบำบัด
ยาในกลุ่มยับยั้งเอนไซม์ไทโรซีนไคเนส (Tyrosine kinase inhibitors)
ยาในกลุ่มยับยั้งจุดตรวจสอบภูมิคุ้มกัน (Immune checkpoint inhibitors) ซึ่งมุ่งเป้าไปที่โปรตีนพีดี-แอล1 (PD-L1) และพีดี-1 (PD-1)
มุมมองในอนาคตสำหรับผู้ที่เป็นโรคมะเร็งเซลล์ตับ แม้ว่าอุบัติการณ์ของโรคมะเร็งเซลล์ตับที่สูง ผู้ที่เป็นโรคยังคงมีทางเลือกการรักษาน้อยและอัตราการรอดชีวิตต่ำยังอยู่ในระหว่างการศึกษาสำหรับผู้ที่เป็นโรคมะเร็งเซลล์ตับ
References
WHO: Globocan 2018 – Liver cancer factsheet. [Internet; cited 2019 Dec 6] Available from:
Llovet J, et al. Hepatocellular carcinoma. Nat Rev Dis Primers. 2016;2:16018.
Dimitroulis D et al. From diagnosis to treatment of hepatocellular carcinoma: An epidemic problem for both developed and developing world. World J Gastroenterol. 2017;23(29):5282-5294.
Yang JD, et al. A global view of hepatocellular carcinoma: trends, risk, prevention and management. Nature Reviews . 2019; 16:589-604
Tanaka M, et al. Hepatitis B and C Virus Infection and Hepatocellular Carcinoma in China: A Review of Epidemiology and Control Measures. J Epidemiol. 2011;21(6):401-416.
Islami F, et al. Disparities in liver cancer occurrence in the United States by race / ethnicity and state. Ca CancerJ Clin. 2017;67:273–289.
Pimpin L, et al. Burden of liver disease in Europe: Epidemiology and analysis of risk factors to identify prevention policies.J Hepatol. 2018;69:718–735.
WHO – Obesity and overweight. [Internet; cited 2019 July 24] Available from:
Medline. [Internet; cited 2019 July 24]. Available from:
Giannini G, et al. Prognosis of untreated hepatocellular carcinoma. Hepatology. 2015;61(1):184-190.
Medscape. [Internet; cited 2019 July 24]. Available from:
Marrero K, Kulik L, et al. Diagnosis, staging, and management of hepatocellular carcinoma: 2018 practice guidance by theAmerican Association for the Study of Liver Diseases. Hepatology. 2018;68(2):723-750.
Wu Q, Qin S. Features and treatment options of Chinese hepatocellular Carcinoma. Chin Clin Oncol. 2013;2(4):38.
Okusaka T, Ikeda M. Immunotherapy for hepatocellular carcinoma: current status and future perspectives.
M-TH-00000671