โรคตาจากเบาหวานเป็นกลุ่มของปัญหาเกี่ยวกับดวงตาซึ่งอาจเกิดขึ้นได้ อันเป็นผลมาจากระดับน้ำตาลในเลือดสูงซึ่งไม่สามารถควบคุมได้ การสูญเสียการมองเห็นอาจเกิดขึ้นได้เมื่อเวลาผ่านไป โดยเฉพาะในกรณีที่ควบคุมเบาหวานได้ไม่ดี ก่อให้เกิดความเสียหายต่อจอประสาทตา ซึ่งเป็นส่วนประกอบของดวงตาที่ทำหน้าที่ส่งข้อมูลไปยังสมองเพื่อทำให้เกิดการมองเห็น¹
เกิดขึ้นเมื่อความเสียหายที่เกิดขึ้นกับหลอดเลือดทำให้เลือดและ/หรือของเหลวรั่วเข้าสู่จอประสาทตา ซึ่งจะทำให้เกิดอาการบวม รวมถึงเกิดการอุดตันของเส้นเลือด ทำให้เลือดไม่สามารถเข้าไปหล่อเลี้ยงจอประสาทตาบางส่วนได้1
ภาวะจุดรับภาพบวมจากเบาหวานขึ้นจอตา (Diabetic macular edema, DME) เป็นภาวะแทรกซ้อนของเบาหวานขึ้นตา (DR) อีกทอดหนึ่ง ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อหลอดเลือดที่ได้รับความเสียหายรั่วเข้าสู่จุดรับภาพ (macula) และก่อให้เกิดอาการบวมที่บริเวณดังกล่าว
จุดรับภาพ (macula) เป็นบริเวณที่อยู่ตรงใจกลางจอประสาทตา ซึ่งทำหน้าที่ปรับการมองเห็นให้ชัดเจนในขณะที่เราอ่านหนังสือและขับรถ1
ทั่วโลกมีคนประมาณ 422 ล้านคนเป็นเบาหวาน หรือคิดเป็น 5.5% ของประชากรโลก2
เบาหวานเป็นสาเหตุอันดับหนึ่งของผู้ที่ตาบอดรายใหม่ในผู้ใหญ่อายุระหว่าง 20-74 ปี 2,3,4
โรคเบาหวานขึ้นจอตาเกิดขึ้นกับคน 93 ล้านคนทั่วโลก และคิดเป็น 5% ของผู้ที่ตาบอดทั้งหมด5
ภาวะจุดรับภาพบวมจากเบาหวานขึ้นตาเกิดขึ้นกับคน 21 ล้านคนทั่วโลก และเป็นสาเหตุอันดับหนึ่งของการสูญเสียการมองเห็นในผู้ที่เป็นเบาหวาน5
เบาหวานประเภทต่างๆ ทั้งหมด
เกิดจากการขาดอินซูลิน (เบาหวานประเภทที่ 1), เกิดจากการตอบสนองต่ออินซูลินไม่เพียงพอ (เบาหวานประเภทที่ 2) หรือเบาหวานขณะตั้งครรภ์
ภาวะระดับน้ำตาลในเลือดสู ง น้ำตาลในเลือดสูง
ภาวะความดันโลหิตสูง ความดันโลหิตสูง
โรคอ้วน
พันธุกรรม
ประวัติครอบครัวเป็นโรคเบาหวานขึ้นจอตา หรือภาวะจุดรับภาพบวมจากเบาหวานขึ้นจอตา
อ ายุ
โรคเบาหวานขึ้นจอตาอาจไม่ก่อให้เกิดปัญหาทางสายตาใดๆ หรือก่อให้เกิดปัญหาทางสายตาไม่รุนแรง ไปจนถึงก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ เช่น ภาวะจุดรับภาพบวมจากเบาหวานขึ้นจอตา 1 ภาวะจุดรับภาพบวมจากเบาหวานขึ้นจอตาสามารถทำให้เกิด:6
สายตาพร่าตามัว
ไม่สามารถแยกความแตกต่างระหว่างสีอ่อนกับสีเข้มได้
การสูญเสียการมองเห็นเป็นหย่อมๆ ซึ่งจะปรากฏเป็นจุดหรือเส้นสีดำเล็กๆ ‘ลอยอยู่ในอากาศ’
การสูญเสียการมองเห็นเนื่องจากเบาหวานขึ้นจอตาสามารถรักษาได้ แต่การตรวจพบได้เร็วและให้การรักษาตั้งแต่เนิ่นๆ สามารถช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดตาบอดได้ 95%1
ความบกพร่องทางสายตาอาจส่งผลกระทบต่อ: 7
ความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวัน
ความสามารถในการทำงาน
ความสามารถในการใช้ชีวิตในสังคมได้อย่างคล่องแคล่วกระฉับกระเฉง
คุณภาพชีวิต ที่มีการแยกตัวจากสังคมมากขึ้น เป็นโรคซึมเศร้าและวิตกกังวล
เนื่องจากอัตราการเกิดโรคเบาหวานยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นคนจำนวนมากขึ้นจะได้รับผลกระทบจากโรคตาจากเบาหวาน5
การเข้ารับการตรวจตาประ จำปีเป็นวิธีการที่ดีที่สุดในการตรวจหาการเปลี่ยนแปลงใดๆ ก็ตามที่อาจเกิดขึ้นกับการมองเห็น การตรวจจอประสาทตาหลังจากหยอดยาขยายรูม่านตาจะช่วยให้สามารถตรวจวินิจฉัยโรคเกี่ยวกับจอประสาทตาได้ทุกชนิด หากท่านต้องการทราบข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับโรคตาจากเบาหวานหรือโรคจอตาชนิดอื่นๆ ท่านสามารถปรึกษาผู้เชี่ยวชาญในการวัดสายตาและประกอบแว่นของท่าน หรือเข้าไปเยี่ยมชมเว็บไซต์
ข้อมูลอ้างอิง
National Eye Institute. Facts About Diabetic Eye Disease. [Internet; cited May 2019]. Available from:
World Health Organisation. Diabetes [Internet; cited May 2019]. Available from:
Lee, R., Wong, T. Y., Sabanayagam, C. Epidemiology of diabetic retinopathy, diabetic macular edema and related vision loss. Eye Vis. 2015; 2:17.
Yau, J. W. Y., Rogers, S. L., Kawasaki, R. et al. Global Prevalence and Major Risk Factors of Diabetic Retinopathy. Diabetes Care. 2012; 35: 556–564.
Leasher, J. L. et al. Global Estimates on the Number of People Blind or Visually Impaired by Diabetic Retinopathy: A Meta-Analysis from 1990 to 2010. Diabetes Care. 2016; 39:1643–9.
American Academy of Ophthalmology. Diabetic Retinopathy Symptoms. [Internet; cited May 2019]. Available from:
Park, S. J., Ahn, S., Woo, S. J. et al. Extent of Exacerbation of Chronic Health Conditions by Visual Impairment in Terms of Health-Related Quality of Life. JAMA Ophthalmol. 2015; 133:1267–1275
M-TH-00001917