2 สาเหตุที่ต้องจัดการ ในภาวะจุดรับภาพชัดบวมจากเบาหวานขึ้นจอตา

ภาวะจุดรับภาพชัดบวมจากเบาหวานขึ้นจอตา ปัญหาสุขภาพที่ต้องใส่ใจ

ภาวะจุดรับภาพชัดบวมจากเบาหวานขึ้นจอตา หรือ DME เกิดจากผู้ป่วยโรคเบาหวานที่มีระดับนํ้าตาล (กลูโคส) ในเลือดสูงเป็นระยะเวลานานมีความเสี่ยงที่จะเกิด ภาวะจุดรับภาพชัดบวมจากเบาหวานขึ้นจอตา ซึ่งถือเป็นปัญหาสุขภาพที่ต้องใส่ใจเนื่องจาก

  1. ภาวะจุดรับภาพชัดบวมจากเบาหวานขึ้นจอตา หรือ DME เป็นสาเหตุหลักของการสูญเสียการมองเห็นในผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวาน

  2. การวินิจฉัยที่เร็วและเริ่มการรักษาทันที ช่วยลดโอกาสการสูญเสียการมองเห็นในระยะยาวได้

สำหรับดวงตาที่ได้รับผลกระทบจากภาวะจุดรับภาพชัดบวมจากเบาหวานขึ้นจอตา หรือ DME เกิดขึ้นเมื่อหลอดเลือดในจอตา (Retina) (เนื้อเยื่อชั้นในสุดของลูกตาที่มีความไวต่อแสง) ได้รับความเสียหาย ซึ่งสามารถนําไปสู่การรั่วซึมของสารนํ้าเข้าลูกตา ก่อให้เกิดอาการบวมของจุดภาพชัด (บริเวณศูนย์กลางของจอประสาทตา) ทำให้มองเห็นพร่ามัวและสูญเสียการมองเห็น

ภาพดวงตาที่ได้รับผลกระทบจากโรค DME

มีโปรตีน 2 ประเภทที่เป็นสาเหตุของการบวมในดวงตา ได้แก่ VEGF และ Ang-2 ซึ่งโปรตีนทั้งสองทําให้หลอดเลือดมีการเจริญเติบโตผิดปกติ ไม่แข็งแรง ทําให้มีของเหลวรั่วไหลออกจากหลอดเลือด ซึ่งอาจนําไปสู่การสูญเสียการมองเห็นในผู้ป่วย DME ได้ โดยมีอาการที่สังเกตได้ ดังนี้

●      มองเห็นเส้นหรือจุดสีดําบดบังการมองเห็น

●      มองเห็นสีซีดจางกว่าปกติ

●      มองเห็นภาพพร่ามัวหรือเป็นคลื่น

●      มองเห็นขนาดของวัตถุเปลี่ยนไป

●      สายตาไม่ดีเมื่ออยู่ในที่สว่างหรือแสงจ้า

●      อ่านหนังสือหรือขับรถได้ยากกว่าปกติ

ภาพอาการของโรคที่อาจพบได้

นวัตกรรมการรักษาใหม่ Dual Pathway ยับยั้ง 2 กลไกหลักของการเกิดโรค

เมื่อ 10 กว่าปีก่อนการรักษาหลักของโรคทางจอประสาทตา รวมถึงภาวะจุดรับภาพชัดบวมจากเบาหวานขึ้นจอตา หรือ DME จะเป็นการใช้เลเซอร์ ซึ่งวิธีนี้ช่วยชะลอโรคได้ แต่ไม่ช่วยให้การมองเห็นดีขึ้นมากนัก ต่อมาจึงมีการพัฒนาเป็นยาฉีดเข้าน้ำวุ้นตาที่ยับยั้ง VEGF (Anti-VEGF) ซึ่งส่วนใหญ่ออกฤทธิ์ผ่านกลไกเดียว คือ Anti-VEGF มีส่วนช่วยลดการงอกของเส้นเลือดที่จอประสาทตา ทำให้การมองเห็นดีขึ้น แต่ต้องฉีดบ่อยทุก 1-2 เดือน ซึ่งสร้างภาระให้ทั้งผู้ป่วยและผู้ดูแล โดยเฉพาะผู้ที่อยู่ห่างไกลโรงพยาบาลหรือต่างจังหวัด ที่ผู้ดูแลต้องลางานพาผู้ป่วยมาโรงพยาบาลบ่อยๆ

สำหรับปัจจุบัน ยาฉีดเข้าน้ำวุ้นลูกตามีการพัฒนามากขึ้น มีนวัตกรรมใหม่ที่ยับยั้ง 2 กลไกหลักของการเกิดโรค คือ ยับยั้งทั้ง VEGF และ Ang-2 (Anti Ang-2/VEGF) ช่วยทั้งลดการงอกและการรั่วของเส้นเลือด ลดการอักเสบ และเพิ่มความแข็งแรงของเส้นเลือด ออกฤทธิ์ได้นานขึ้น

และจากงานวิจัย พบว่าประมาณร้อยละ 80 ของผู้ป่วยฉีดยาที่ยับยั้ง 2 กลไก (Anti Ang-2/VEGF) เพียง 1 ครั้งใน 3 เดือน และประมาณร้อยละ 60 ฉีดเพียง 1 ครั้งใน 4 เดือน คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยจึงดีขึ้นกว่าเดิม และจากการวิจัยทางคลินิกในผู้ป่วยกว่า 3,200 ราย และการรักษาจริงกว่า 4,000,000 เข็มทั่วโลก ไม่พบผลข้างเคียงที่แตกต่างจากยาเดิม

นวัตกรรม Dual Pathway ที่ยับยั้ง 2 กลไกหลักของการเกิดโรค จึงเป็นแนวทางการรักษาใหม่ที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น ด้วยตัวยาที่อยู่ทน อยู่นาน ซึ่งนอกจากจะช่วยทำให้การมองเห็นดีขึ้นแล้ว ยังช่วยทำให้ผู้ป่วยไม่ต้องไปโรงพยาบาลบ่อยๆ จึงสะดวกสบายมากขึ้น อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยแต่ละรายอาจมีการตอบสนองต่อยาที่แตกต่างกันไป

ภาพกลไกการออกฤทธิ์

ข้อปฏิบัติสำหรับผู้ที่มีภาวะจุดรับภาพชัดบวมจากเบาหวานขึ้นจอตา หรือ DME เพื่อให้การรักษาได้ผลดีที่สุด มีดังนี้

●      ผู้ป่วยลดปัจจัยเสี่ยง ได้แก่ การคุมระดับนํ้าตาลในเลือด ความดันโลหิตสูงและไขมันในเลือด งดสูบบุหรี่และออกกําลังกายสมํ่าเสมอ

●      ผู้ป่วยควรเข้ารับการรักษาอย่างต่อเนื่องเพื่อผลการรักษาที่ดีที่สุดและควรมาพบแพทย์ตามนัดทุกครั้ง

●      ในช่วงแรกควรฉีดยาทุก 4 สัปดาห์ เป็นเวลา 3-4 ครั้ง (หรือขึ้นอยู่กับการประเมินของแพทย์) หลังจากนั้นความถี่ในการฉีดยาขึ้นอยู่กับการตอบสนองต่อการรักษาและการประเมินของแพทย์

บทสรุป

ผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวาน มีความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะจุดรับภาพชัดบวมจากเบาหวานขึ้นจอตา ซึ่งหากไม่ได้รับการวินิจฉัยและเริ่มต้นรักษาด้วยยาที่มีประสิทธิภาพอย่างทันท่วงทีก็อาจทวีความรุนแรงจนทำให้สูญเสียการมองเห็นได้ ดังนั้น ผู้ที่มีความเสี่ยงควรหมั่นตรวจสุขภาพตากับจักษุแพทย์เป็นประจำอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง จะได้เข้าถึงการรักษาอย่างทันท่วงที และลดการสูญเสียการมองเห็น

โดยนวัตกรรมการรักษาใหม่ Dual Pathway ยับยั้ง 2 กลไกหลักของการเกิดโรค จึงถือเป็นนวัตกรรมซึ่งรักษาที่ต้นเหตุ ช่วยให้การรักษามีประสิทธิภาพที่นอกจากจะช่วยทำให้การมองเห็นดีขึ้นแล้ว ยังช่วยทำให้ผู้ป่วยไม่ต้องไปโรงพยาบาลบ่อยๆ จึงสะดวกสบายมากขึ้น เพราะตัวยาอยู่คงทน เห็นผลได้ยาวนาน

ข้อมูลอ้างอิง

1.  BSimader C, Soo Y, Schmelter T, Yancopoulos GD, Stahl N, Vitti R, Berliner AJ, Zeitz O, Metzig C, Korobelnik JF. Intravitreal Aflibercept for Diabetic Macular Edema: 100-Week Results From the VISTA and VIVID Studies. Ophthalmology. 2015 Oct;122(10):2044-52. doi: 10.1016/j.ophtha.2015.06.017. Epub 2015 Jul 18. PMID: 26198808.

2. Wells JA, Glassman AR, Ayala AR, Jampol LM, Bressler NM, Bressler SB, Brucker AJ, Ferris FL, Hampton GR, Jhaveri C, Melia M, Beck RW; Diabetic Retinopathy Clinical Research Network. Aflibercept, Bevacizumab, or Ranibizumab for Diabetic Macular Edema: Two-Year Results from a Comparative Effectiveness Randomized Clinical Trial. Ophthalmology. 2016 Jun;123(6):1351-9. doi: 10.1016/j.ophtha.2016.02.022. Epub 2016 Feb 27. PMID: 26935357; PMCID: PMC4877252.

3. Nguyen QD, Brown DM, Marcus DM, Boyer DS, Patel S, Feiner L, Gibson A, Sy J, Rundle AC, Hopkins JJ, Rubio RG, Ehrlich JS; RISE and RIDE Research Group. Ranibizumab for diabetic macular edema:  results from 2 phase III randomized trials: RISE and RIDE. Ophthalmology. 2012 Apr;119(4):789-801. Doi: 10.1016/j.ophtha.2011.12.039. Epub 2012 Feb 11. PMID: 22330964.3.Heier JS, et al. Lancet. 2022;399(10326):729-40.

4. Wykoff CC, et al. Lancet. 2022;399(10326):741-755.

5. Wells JA, et al. Presented at the Angiogenesis, Exudation, and Degeneration 2022 Virtual Congress, February 11–12, 2022.

6. Priglinger SG, et al. Presented at the Macula Society 45th Annual Meeting, Berlin, Germany, June 8–11, 2022.

7. Kuo, Blanche L, and Rishi P Singh. “Brolucizumab for the treatment of diabetic macular edema.” Current opinion in ophthalmology vol. 33,3 (2022): 167-173. doi:10.1097/ICU.0000000000000849  rown DM, Schmidt-Erfurth U, Do DV, Holz FG, Boyer DS, Midena E, Heier JS, Terasaki H, Kaiser PK, Marcus DM, Nguyen QD, Jaffe GJ, Slakter JS,

M-TH-00004224

รายละเอียดเพิ่มเติมสำหรับโรคจักษุวิทยา

ดูรายละเอียดโรคจักษุวิทยา

This website contains information on products which is targeted to a wide range of audiences and could contain product details or information otherwise not accessible or valid in your country. Please be aware that we do not take any responsibility for accessing such information which may not comply with any legal process, regulation, registration or usage in the country of your origin. which is targeted to a wide range of audiences and could contain product details or information otherwise not accessible or valid

ติดต่อสาขาของโรชlinkedinfacebooktwitterinstagramyoutubeเกี่ยวกับโรชหน่วยธุรกิจยาร่วมงานกับเราข่าวสารบทความRoche Privacy PolicyRoche Privacy Notice (HCPs)Roche Privacy Policy for PatientsRoche Privacy Policy for Contract PartiesRoche Privacy & Communication TermsLegal statementCCTV Privacy