โรคจอประสาทตาเสื่อมในผู้สูงอายุ

เป็นโรคที่เกิดขึ้นกับบริเวณที่อยู่ตรงใจกลางจอประสาทตาในลูกตาของเรา ที่เรียกว่าแมคูลา (macula) จอประสาทตาทำหน้าที่ส่งข้อมูลไปยังสมองเพื่อทำให้เกิดการมองเห็น โดยมีแมคูลา (macula) ทำหน้าที่หลักเป็นจุดภาพชัดในการปรับการมองเห็นให้ชัดเจน โรคจอประสาทตาเสื่อมในผู้สูงอายุเป็นสาเหตุอันดับหนึ่งของตาบอดในผู้ที่มีอายุมากกว่า 60 ปี ¹,²

คนจำนวนมากที่เป็นโรคจอประสาทตาเสื่อมในผู้สูงอายุไม่ทราบว่าเป็นอาการของโรคนี้ในตอนแรก โดยเข้าใจผิดว่าเป็นอาการหูตาฝ้าฟางตามปกติของผู้สูงอายุ ซึ่งนำไปสู่อาการที่รุนแรงมากขึ้น เช่น โรคจอประสาทตาเสื่อมในผู้สูงอายุชนิดที่มีหลอดเลือดงอกใหม่ (neovascular AMD หรือ nAMD) และภาพแสดงจุดรับภาพตรงกลางมีการเสื่อม (geographic atrophy)3,4

ในกรณีของโรคจอประสาทตาเสื่อมในผู้สูงอายุชนิดที่มีหลอดเลือดงอกใหม่ หลอดเลือดใหม่ที่ผิดปกติจะเจริญเติบโตอย่างไม่สามารถควบคุมได้อยู่ใต้จุดรับภาพ (macula) ดังนั้นจึงก่อให้เกิดอาการบวม มีเลือดออก และ/หรือเกิดพังผืดขึ้นที่บริเวณดังกล่าว5

ภาระของประเทศต่างๆ ทั่วโลก

โรคจอประสาทตาเสื่อมในผู้สูงอายุชนิดที่มีหลอดเลือดงอกใหม่เกิดขึ้นกับคน 20 ล้านคนทั่วโลก1,6

ทั้งนี้คาดว่าจำนวนผู้ที่เป็นโรคจอประสาทตาเสื่อมในผู้สูงอายุทั่วโลกจะมีจำนวนถึง 288 ล้านคนภายในปี ค.ศ. 20402

โรคจอประสาทตาเสื่อมในผู้สูงอายุชนิดที่มีหลอดเลือดงอกใหม่เป็นสาเหตุอันดับหนึ่งของการสูญเสียการมองเห็นในผู้ที่มีอายุมากกว่า 60 ปี2

ปัจจัยเสี่ยงชนิดต่างๆ⁷

อายุ

โรคอ้วน

พันธุกรรม (ประวัติครอบครัวเป็นโรคจอประสาทตาเสื่อมในผู้สูงอายุ)

เพศ (ผู้หญิงมีความเสี่ยงมากกว่าผู้ชาย)

เชื้อชาติ (พบได้มากกว่าในคนผิวขาว)

การสูบบุหรี่ (ผู้ที่สูบบุหรี่มีโอกาสเกิดโรคชนิดนี้ได้มากกว่าผู้ที่ไม่สูบบุหรี่ 2-5 เท่า)

อาการแสดง⁸

สายตาพร่ามัว

ไม่สามารถมองเห็นในระยะไกลๆ หรือไม่สามารถทำงานที่มีรายละเอียดได้

เกิดจุดอับต่างๆ ขึ้นในแนวสายตา

ไม่สามารถแยกความแตกต่างของสีต่างๆ ได้

ขอบวัตถุและเส้นตรงปรากฏเป็นลักษณะลูกคลื่น

ผลกระทบของโรคจอประสาทตาเสื่อมในผู้สูงอายุชนิดที่มีหลอดเลือดงอกใหม่ (nAMD)

ความบกพร่องทางสายตาอาจส่งผลกระทบต่อ:9,10,11

  • ความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวัน

  • ความสามารถในการทำงาน

  • ความสามารถในการใช้ชีวิตในสังคมได้อย่างคล่องแคล่วกระฉับกระเฉง

  • คุณภาพชีวิต ที่มีการแยกตัวจากสังคมมากขึ้น เป็นโรคซึมเศร้าและวิตกกังวล

โรคจอประสาทตาเสื่อมในผู้สูงอายุชนิดที่มีหลอดเลือดงอกใหม่อาจส่งผลกระทบต่อความสามารถในการมองเห็นหรือจดจำหน้าผู้คน อ่านหนังสือ ขับรถ หรือดูทีวี1,9

การตรวจตาประจำปี

การเข้ารับการตรวจตาประจำปีเป็นวิธีการที่ดีที่สุดในการตรวจหาการเปลี่ยนแปลงใดๆ ก็ตามที่อาจเกิดขึ้นกับการมองเห็น การตรวจจอประสาทตาหลังจากหยอดยาขยายรูม่านตาจะช่วยให้สามารถตรวจวินิจฉัยโรคเกี่ยวกับจอประสาทตาได้ทุกชนิด หากท่านต้องการทราบข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับโรคจอประสาทตาเสื่อมในผู้สูงอายุชนิดที่มีหลอดเลือดงอกใหม่ หรือโรคจอตาชนิดอื่นๆ ท่านสามารถปรึกษาผู้เชี่ยวชาญในการวัดสายตาและประกอบแว่นของท่าน หรือเข้าไปเยี่ยมชมเว็บไซต์

ข้อมูลอ้างอิง

  1. Bright Focus Foundation. Age-Related Macular Degeneration: Facts & Figures. [Internet; cited October 2021]. Available from:

  2. Wong WL, et al. Global prevalence of age-related macular degeneration and disease burden projection for 2020 and 2040: a systematic review and meta-analysis. Lancet Glob Health. 2014;2:106–16.

  3. NHS Choices. Macular Degeneration. [Internet; cited October 2021] Available from:

  4. Sacconi R, Corbelli E, Querques L, Bandello F, Querques G. A Review of Current and Future Management of Geographic Atrophy. Ophthalmology and Therapy. 2017; 6:69-77.

  5. Little K, et al. Myofibroblasts in macular fibrosis secondary to neovascular age-related macular degeneration-the potential sources and molecular cues for their recruitment and activation. EBioMedicine. 2018;38:283-91.

  6. Connolly E, et al. Prevalence of age-related macular degeneration associated genetic risk factors and 4-year progression data in the Irish population. Br J Ophthalmol. 2018;102:1691–5.

  7. Bright Focus Foundation. Macular Degeneration Prevention and Risk Factors. [Internet; cited October 2021]. Available from: http://www.brightfocus.org/macular/prevention-and-risk-factors.

  8. Bright Focus Foundation. Macular Degeneration Essential Facts. [Internet; cited October 2021]. Available from:

  9. Park SJ, Ahn S, Woo SJ, et al. Extent of Exacerbation of Chronic Health Conditions by Visual Impairment in Terms of Health-Related Quality of Life. JAMA Ophthalmol. 2015; 133:1267-1275.

  10. Taylor DR, et al. How does age-related macular degeneration affect real-world visual ability and quality of life? A systematic review. BMJ Open. 2016;6:e011504. doi:10.1136/bmj.

  11. Garcia GA, et al. Profound vision loss impairs psychological well-being in young and middle-aged individuals. Clin Ophthalmol. 2017;11:417–27.

M-TH-00001918

รายละเอียดเพิ่มเติมสำหรับโรคจักษุวิทยา

ดูรายละเอียดโรคจักษุวิทยา