เมื่อร่างกายเริ่มแสดงสัญญาณที่ผิดปกติ สิ่งที่ทุกคนต้องการคือหาคำตอบว่าเกิดอะไรขึ้นกับตนเอง ถึงแม้ปัจจุบันการใช้งาน Search Engine จะเป็นเรื่องง่าย แต่เรากลับพบว่าการหาข้อมูลด้านการดูแลสุขภาพที่ถูกต้อง เชื่อถือได้ และทันสมัย กลับไม่ง่ายอย่างที่คิด ข้อมูลมากมายที่ปรากฏอยู่บนโลกอินเทอร์เน็ตก็อาจไม่ใช่คำตอบ เช่น การรักษาที่ผิดหลักการแพทย์ หรือไม่ได้เข้ารับการรักษาภายในเวลาอันควร เป็นต้น ในกรณีที่เลือกขอคำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญ เรายังต้องศึกษาข้อมูลให้ชัดเจน
ขั้นตอนนี้ เพื่อระบุชนิด ตำแหน่ง และความรุนแรงของโรค โดยแพทย์ต้องอาศัยการซักประวัติและผลทดสอบทางคลินิกต่างๆ มาประกอบกัน ยกตัวอย่างเช่น การส่องกล้อง ซึ่งผู้ป่วยต้องเสียทั้งเวลาและค่าใช้จ่าย ที่เกิดขึ้นจากการเดินทาง การรอคิว ส่วนการตรวจชิ้นเนื้อเป็นวิธีที่ต้องอาศัยการผ่าตัด ขั้นตอนมาตรฐานในการระบุความผิดปกติจะเรียงลำดับจากความผิดปกติที่มีโอกาสพบบ่อยที่สุดก่อน ระหว่างนี้ทั้งผู้ป่วยและผู้ดูแลต้องรอผลแล็บนานประมาณ 2-3 สัปดาห์ หากไม่พบ แพทย์จึงจะเริ่มตรวจหาประเภทของความผิดปกติที่มีโอกาสพบรองลงมา ประมาณ 2-3 สัปดาหเพื่อฟังผลแล็บ กระบวนการนี้จะดำเนินไปเรื่อยๆ จนกว่าจะเจอความผิดปกติที่สัมพันธ์กับโรค
แนวทางการรักษาในอดีตมองว่ามะเร็งชนิดเดียวกันนั้นเหมือนกัน ส่งผลให้ผู้ป่วยทุกคนได้รับการรักษาเพียงแบบเดียว อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยบางคนตอบสนองต่อการรักษาได้ดีและร่างกายค่อยๆ ฟื้นตัวขึ้นตามลำดับ ในขณะที่ผลการรักษาในผู้ป่วยบางคนอาจไม่เป็นไปตามที่หวังไว้ การรักษาด้วยยาที่เหมาะสมตั้งแต่แรกจะช่วยให้ผู้ป่วยมุคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
หลังจากรักษาไปได้ระยะหนึ่งแล้ว ผู้ป่วยบางคนอาจตอบสนองต่อการรักษาได้ดีและร่างกายค่อยๆ ฟื้นตัวขึ้นตามลำดับ
นวัตกรรมทางการแพทย์และเทคโนโลยีชีวภาพ (Biotechnology) ก้าวหน้าไปมาก แม้จะเป็นมะเร็งตำแหน่งเดียวกัน แต่อาจมีสาเหตุจากความผิดปกติของยีนต่างชนิดกัน ความรู้ความเข้าใจนี้ช่วยตอบคำถามที่ว่า เหตุใดยาขนานเดียวกันจึงให้ผลลัพธ์การรักษาที่แตกต่างกันในผู้ป่วยแต่ละคน
การดูแลสุขภาพแบบจำเพาะบุคคลช่วยให้ผู้ป่วยตอบสนองต่อการรักษาได้ดีขึ้น เพิ่มอัตราการรอดชีวิต และยกระดับคุณภาพชีวิตโดยรวม ในท้ายที่สุดผู้ป่วยและผู้ดูแลก็จะสามารถกลับไปใช้ชีวิตได้เหมือนหรือใกล้เคียงปกติ
เริ่มต้นที่การตรวจวินิจฉัยเพื่อระบุความผิดปกติของยีน ด้วยนวัตกรรมการตรวจยีนแบบครอบคลุม (Comprehensive Genomic Profiling) ที่อาศัยเพียงการเก็บตัวอย่างเลือด (Blood Draw) เพียงครั้งเดียว ก็สามารถระบุความผิดปกติของยีนได้ถึง 300 ชนิด ซึ่งช่วยให้ผู้ป่วยไม่ต้องผ่าตัดเก็บตัวอย่างชิ้นเนื้อ
เมื่อแพทย์ระบุได้อย่างชัดเจนว่ายีนชนิดใดที่เกิดความผิดปกติขึ้น ผู้ป่วยย่อมมีทางเลือกเพิ่มขึ้นเพื่อเข้าถึงการรักษาแบบจำเพาะบุคคล ไม่ว่าจะเป็น ยามุ่งเป้า (Targeted Therapy) ซึ่งเป็นการใช้ยาเพื่อออกฤทธิ์มุ่งเป้าต่อเซลล์มะเร็งที่มีลักษณะพันธุกรรมเฉพาะ หรือยาภูมิคุ้มกันบำบัด (Immunotherapy) ซึ่งเป็นการใช้ยาเพื่อปรับให้การทำงานของเซลล์ภูมิคุ้มกันมะเร็งในร่างกายผู้ป่วยสามารถทำลายเซลล์มะเร็งได้ โดยการรักษาด้วยการให้ยามุ่งเป้าและยาภูมิคุ้มกันบำบัดมักมีผลข้างเคียงน้อยกว่าวิธีการรักษาบนมาตรฐานเดียว (One-size-fits-all approach)
เพราะเปิดโอกาสให้ผู้ป่วยและผู้ดูแลมีส่วนร่วมกับแพทย์เพื่อพิจารณาแนวทางการรักษาที่เหมาะสมกับปัจจัยต่างๆ อย่าง เช่น ระยะและตำแหน่งของโรค ขนาดของก้อนเนื้อ รวมไปถึงสภาพร่างกายของผู้ป่วยแต่ละคน
ดังนั้น ไม่ว่าคุณจะกำลังอ่านบทความนี้ในฐานะผู้ป่วยมะเร็งหรือผู้ดูแล หากมีข้อมูลการดูแลสุขภาพที่ถูกต้อง เชื่อถือได้ และทันสมัย เราย่อมพร้อมที่จะวางแผนรับมือกับความท้าทายต่างๆ ตลอดเส้นทางการรักษาและเข้าใกล้คำว่า “หาย” ได้
References
Https: //www. Roche. Co. Th/th/disease-areas/comprehensive-genomic-profiling. Html
Https: //www. Unmc. Edu/mmi/geneticslab/catalog/single-gene/index. Html
M-TH-00002378