ภาวะการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในปัจจุบัน ได้สร้างความวิตกกังวลและส่งผลกระทบอย่างหนักต่อประชากรทั่วโลก ทั้งยังมีจำนวนของผู้ป่วยและเสียชีวิตเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องตลอดหลายเดือนที่ผ่านมา แต่เมื่อเข้าสู่ช่วงหน้าฝน ยังคงมีอีกโรคที่ทำให้หลายฝ่ายต้องเฝ้าระวัง นั่นคือ “โรคไข้หวัดใหญ่” ซึ่งเป็นโรคติดต่อทางเดินหายใจ ที่สามารถแพร่กระจายไปสู่คนทุกเพศทุกวัยได้เช่นเดียวกับโควิด-19 เพียงแค่ช่วงเวลาตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม จนถึง 28 เมษายน 2563 ในประเทศไทยมีจำนวนผู้ป่วยโรคไข้หวัดใหญ่มากกว่าโควิด-19 ถึง 33 เท่า1,2 พบผู้เสียชีวิตสูงถึง 2 เปอร์เซ็นต์ ทั่วโลก และอัตราการเสียชีวิตยิ่งเพิ่มสูงขึ้นเป็น 26 เปอร์เซ็นต์ ในกลุ่มผู้สูงอายุ3 ซึ่งในปีนี้จะเป็นครั้งแรกที่มีโรคระบาดทั้ง 2 โรคพร้อมกัน นอกจากความเสี่ยงที่จะติดโรคใดโรคหนึ่งแล้ว ประชาชนยังมีโอกาสที่จะติดเชื้อร่วมกัน (co-infection) จากทั้งไข้หวัดใหญ่และโควิด-19 ได้ ซึ่งทำให้มีอาการรุนแรงและยิ่งทำให้การรักษามีความซับซ้อนมากยิ่งขึ้น
นายแพทย์ วีรวัฒน์ มโนสุทธิ รองผู้อำนวยการสถาบัน กลุ่มแผนปฏิบัติการชาติฯ สถาบันบำราศนราดูร กล่าวว่า “โรคไข้หวัดใหญ่มักระบาดในหน้าฝน ซึ่งมีความน่ากังวลเพราะอาการแสดงของไข้หวัดใหญ่และโควิด-19 มีความคล้ายคลึงกันมาก และสามารถแพร่กระจายสู่ผู้อื่นเมื่อมีการไอหรือจามได้เช่นเดียวกัน1 โดยถึงแม้ในปัจจุบันวัคซีนไข้หวัดใหญ่จะมีแพร่หลาย แต่พบว่าคนที่ได้รับวัคซีนแล้วยังคงสามารถป่วยจากไข้หวัดใหญ่ได้ เนื่องจากวัคซีนอาจมีประสิทธิภาพเพียง 40-60 เปอร์เซ็นต์2 ขึ้นกับสายพันธุ์ของไวรัสไข้หวัดใหญ่ที่ระบาดในแต่ละปี ล่าสุดพบข้อมูลว่าผู้ป่วยติดเชื้อร่วมกันได้ทั้ง 2 โรค ซึ่งลำพังเพียงแค่โควิด-19 ก็เพิ่มภาระงานและส่งผลต่อทรัพยากรทางการแพทย์มากเพียงพอแล้ว เราจึงต้องหาวิธีจัดการกับไข้หวัดใหญ่ในช่วงเวลานี้ให้ไม่ซ้ำเติมกันเข้าไปอีก”
การติดเชื้อทั้งสองโรคในเวลาเดียวกันหรือ co-infection จะเป็นการเพิ่มความรุนแรงของโรค ซึ่งเป็นอันตรายในผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงสูง เช่น ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัว หญิงตั้งครรภ์ โดยการศึกษาที่สหรัฐอเมริกาและจีนพบว่าการติดเชื้อโควิด-19 เพิ่มความเสี่ยงต่อการติดเชื้ออื่นๆร่วมกันได้สูงถึง 201 และ 80 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ และการติดเชื้อร่วมกับโควิด-19 กว่า 60 เปอร์เซ็นต์ พบเป็นไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์เอ2 ที่น่าตกใจกว่านั้นคือการติดเชื้อร่วมกันนั้นเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตสูงถึง 29-55 เปอร์เซ็นต์1 “อาการที่เข้าเกณฑ์การติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ประกอบด้วย ไข้สูง 38-40 องศาเซลเซียส ปวดศีรษะ คัดจมูกหรือน้ำมูกไหล เจ็บคอ ไอ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ และร่างกายอ่อนเพลีย หากพบว่ามีอาการดังกล่าวผู้ป่วยควรรีบพบแพทย์ โดยเฉพาะในกรณีที่อาการไม่ดีขึ้นภายใน 48 ชั่วโมง เพื่อรับคำแนะนำและการรักษาด้วยยาต้านไวรัส ซึ่งยาต้านไวรัสมีประโยชน์ในการบรรเทาอาการของไข้หวัดใหญ่ได้ภายใน 2.3 ถึง 4 วัน1,2 ลดความเสี่ยงการเกิดโรคแทรกซ้อน และช่วยลดการแพร่กระจายเชื้อไวรัสไปสู่คนใกล้ชิดได้ด้วย ซึ่งถือเป็นสิ่งสำคัญในช่วงเวลาที่ทุกคนกักตัวในบ้านกับครอบครัวขณะนี้ โดยยาต้านไวรัสไข้หวัดใหญ่จะมีประสิทธิผลที่ดีที่สุดเมื่อรับประทานภายใน 48 ชั่วโมงหลังจากมีอาการ1 และในปัจจุบันมีทางเลือกยาต้านไวรัสหลายชนิด ทั้งชนิดรับประทาน และสูดดมทางจมูกให้เลือกใช้ โดยจะต้องคำนึงถึงทั้งประสิทธิผลและความปลอดภัยไปพร้อมกัน” นายแพทย์ วีรวัฒน์ กล่าวเสริม
ปัจจุบัน การรับมือของการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ทำให้เกิดข้อจำกัดของทรัพยากรทางการแพทย์ โดยเฉพาะปัญหาการขาดแคลนอุปกรณ์ทางการแพทย์ เช่น จำนวนเตียงผู้ป่วยที่ลดลง และที่สำคัญที่สุดคือบุคลากรทางการแพทย์อาจมีความเหนื่อยล้า จากการที่ต้องทำงานอย่างหนักและต่อเนื่องในช่วงของการแพร่ระบาด โดยปัญหาเหล่านี้มีแนวโน้มที่จะทวีคูณหากคลื่นลูกที่สองในการแพร่ระบาดของโควิด-19 มาชนกับฤดูไข้หวัดใหญ่ การใช้เทคโนโลยีการรักษาไข้หวัดใหญ่ เช่น ยาต้านไวรัสที่มีประสิทธิภาพ จะสามารถลดระยะเวลาการรักษาที่โรงพยาบาลและแบ่งเบาภาระหน้าที่ของบุคลากรทางการแพทย์ได้ ทั้งยังสามารถช่วยป้องกันการแพร่กระบาดของไวรัสไข้หวัดใหญ่และการติดเชื้อร่วมกันได้อีกด้วย
อ้างอิง
Thai DDC. สถานการณ์โรคไข้หวัดใหญ่. Available from https://ddc.moph.go.th/uploads/files/1280920200508032433.pdf. Accessed 8th May 2020
Thai DDC. Covid-19 Infected Situation Reports. Available from
Paget, J.Et al., Global Seasonal Influenza-associated Mortality Collaborator Network and GLaMOR Collaborating Teams*. (2019, December). Global mortality associated with seasonal influenza epidemics: New burden estimates and predictors from the GLaMOR Project. Retrieved from
WHO (2020). Coronavirus disease 2019 (Covid-19) Situation Report – 46. Retrieved from
Key Facts About Seasonal Flu Vaccine. (2020, April 28). Retrieved May 6, 2020, from
Kim D, Quinn J, Pinsky B, Shah NH, Brown I. Rates of Co-infection Between SARS-CoV-2 and Other Respiratory Pathogens. JAMA. Published online April 15, 2020. doi:10.1001/jama.2020.6266
Xing. Et al., Precautions Are Needed for COVID-19 Patients with Coinfection of Common Respiratory Pathogens (3/2/2020). Available at SSRN:
Kwon, J. (2020, April 28). Superinfections and Coinfections in COVID-19. Retrieved from
Hayden FG, et al. Baloxavir Marboxil for Uncomplicated Influenza in Adults and Adolescents. N Engl J Med 2018;379:913-23.
Hayden FG, et al. Efficacy and safety of the neuraminidase inhibitor zanamivir in the treatment of influenza virus infections. GG167 Influenza Study Group. N Engl J Med 1997; Sep 25;337(13):874-80.
Hien H. When should antiviral drugs be administered in the treatment of influenza?. Medscape. Available from
NPM-TH-0562-05-2020
This website contains information on products which is targeted to a wide range of audiences and could contain product details or information otherwise not accessible or valid in your country. Please be aware that we do not take any responsibility for accessing such information which may not comply with any legal process, regulation, registration or usage in the country of your origin. which is targeted to a wide range of audiences and could contain product details or information otherwise not accessible or valid