รักษามะเร็งด้วยภูมิคุ้มกันบำบัด (Immunotherapy) เตรียมตัวอย่างไร ?

เมื่อกล่าวถึงการรักษาปัจจุบัน วิธีที่ได้ยินกันบ่อย ๆ คือ ผ่าตัด เคมีบำบัด และฉายแสง โดยบทความนี้จะพาทุกคนมารู้จักกับการรักษามะเร็งแนวทางใหม่อีกวิธีหนึ่งที่น่าสนใจ คือ การรักษามะเร็งด้วยภูมิคุ้มกันบำบัด (Immunotherapy) ซึ่งถือเป็นทางเลือกในการรักษาต่อผู้ป่วย

ภูมิคุ้มกันบำบัด (Immunotherapy) คือ การรักษาโรคมะเร็งด้วยการกระตุ้นการตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายต่อสิ่งแปลกปลอมเพื่อให้เซลล์ภูมิคุ้มกันนี้ช่วยกำจัดเซลล์มะเร็ง

วิธีการนี้รักษามะเร็งโดยเข้าไปเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของเม็ดเลือดขาวเพื่อให้สามารถจับ สังเกต และทำลายสิ่งแปลกปลอมที่เข้าสู่ร่างกาย ซึ่งอาจพัฒนาไปเป็นมะเร็งได้ เพื่อช่วยให้ร่างกายของผู้ป่วยต่อสู้กับเซลล์มะเร็งได้ดีขึ้น

จากหลากหลายวิธีในการรักษามะเร็ง ปัจจัยหนึ่งที่แพทย์ใช้ประกอบการตัดสินใจเพื่อเลือกแนวทางการรักษาขึ้นอยู่กับระยะมะเร็งในผู้ป่วยแต่ละคน กล่าวคือ การผ่าตัด เหมาะกับผู้ป่วยในระยะที่มะเร็งยังไม่แพร่กระจาย การฉายแสงและเคมีบำบัดมีผลข้างเคียงคือทำลายเซลล์ร่างกายที่ปกติไปด้วย ทำให้ทางการแพทย์ค้นคว้าวิจัยวิธีการรักษาอื่น ๆ และจากการศึกษาพบว่าการรักษามะเร็งด้วยภูมิคุ้มกันบำบัดสามารถยับยั้งเซลล์มะเร็งได้ ดังนั้น การรักษามะเร็งด้วยภูมิคุ้มกันบำบัดจึงเป็นอีกทางเลือกการรักษาหนึ่งที่บทความนี้หยิบยกนำมากล่าวถึง

ภูมิคุ้มกันบำบัดมีหลากหลายวิธีในการนำสารกระตุ้นเข้าสู่ร่างกายเพื่อรักษามะเร็งชนิดต่าง ๆ ซึ่งแต่ละชนิดก็จะมีการทำงานกับกลไกร่างกายเพื่อทำการรักษาที่แตกต่างกันออกไป โดยดังนี้

  1. ภูมิคุ้มกันบำบัดแบบโมโนโคลนอลแอนติบอดี (Monoclonal Antibody)  คือ
    • การให้ยาสารภูมิต้านทานหรือแอนติบอดีที่มีความจำเพาะกับเซลล์มะเร็ง
    • การทำงานของยาเข้าไปควบคุมการเจริญเติบโตหรือควบคุมการสังเคราะห์โปรตีนในเซลล์มะเร็งได้

  2. ภูมิคุ้มกันบำบัดแบบไม่จำเพาะ (Non-specific Immunotherapy)  คือ
    • การให้ยาสารภูมิต้านทานหรือแอนติบอดีที่ไม่จำเพาะ มักใช้พร้อมกับหรือหลังการรักษาด้วยวิธีการอื่น ๆ เช่น การใช้ยาเคมีบำบัดหรือรังสีรักษา
    • การทำงานของยาเข้าไปเพิ่มประสิทธิภาพของระบบภูมิคุ้มกันหรือภูมิต้านทานของร่งกายในการทำลายเซลล์มะเร็ง

  3. ภูมิคุ้มกันบำบัดแบบใช้ไวรัสรักษามะเร็ง (Oncolytic Virus Therapy) คือ
    • การฉีดไวรัสเข้าสู่เนื้องอกหรือเซลล์มะเร็ง
    • การทำงานของไวรัสที่ฉีดเข้าไปจะได้รับการตัดต่อพันธุกรรมให้มีคุณสมบัติจำเพาะเจาะจงต่อเซลล์มะเร็งเพื่อไปทำลายเซลล์มะเร็ง โดยไวรัสจะทำการแบ่งตัวภายในเซลล์เนื้องอกหรือในเซลล์มะเร็งจนส่งผลให้เซลล์มะเร็งตาย หลังจากนั้นตัวเซลล์ที่ตายจะปล่อยแอนติเจนหรือสิ่งที่ร่างกายระบุว่าเป็นสิ่งแปลกปลอมออกมา ทำให้ร่างกายสร้างสารภูมิต้านทานหรือแอนติบอดีที่มีผลเจาะจงกับเซลล์มะเร็งดังกล่าวได้

  4. ภูมิคุ้มกันบำบัดรักษาโดยใช้ที-เซลล์บำบัด (T-cell Therapy) คือ
    • การฉีดทีเซลล์ (T-cell Therapy) ที่ผ่านกระบวนการการดัดแปลงให้มีความจำเพาะกับตัวรับ (Receptor) ในเซลล์มะเร็งกลับเข้าสู่ร่างกายจาก
    • การทำงานของการนำเซลล์ในเลือดของร่างกายมาดัดแปลง เพื่อให้ T-cell ทำลายเซลล์มะเร็ง

  5. ภูมิคุ้มกันบำบัดแบบใช้วัคซีนโรคมะเร็ง (Cancer Vaccines) คือ
    • การฉีดวัคซีนกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย
    • การทำงานของวัคซีนที่ฉีดกระตุ้น คือ ช่วยทำให้ร่างกายให้สามารถจดจำเซลล์มะเร็งและสามารถทำลายโปรตีนที่มีความเกี่ยวข้องกับเซลล์มะเร็งได้ ปัจจุบันมีการนำมาใช้เพื่อป้องกันการเกิดมะเร็งหลากหลายชนิด เช่น มะเร็งตับ มะเร็งปากมดลูก

แม้การรักษามะเร็งด้วยภูมิคุ้มกันบำบัดจะมีผลข้างเคียงหรืออาการไม่พึงประสงค์น้อย แต่ก็ยังอาจพบได้ เช่น

  • มีไข้ ท้องเสีย

  • คลื่นไส้

  • ปวดหัว 

ซึ่งผลข้างเคียงดังกล่าวจะค่อย ๆ ดีขึ้นตามลำดับหลังจากการรักษาครั้งแรกแต่ก็อาจมีบางรายมีผลข้างเคียงรุนแรงซึ่งจะต้องสังเกตอาการเพื่อเฝ้าระวัง¹ อย่างไรก็ตาม แพทย์ยังต้องอาศัยปัจจัยอื่น ๆ ประกอบการเลือกแนวทางการรักษาดังนั้น ผู้ป่วยจึงควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคมะเร็งอย่างใกล้ชิดต่อไป

เมื่อต้องเข้ารับการรักษามะเร็งด้วยภูมิคุ้มกันบำบัด การเตรียมพร้อมต้องเริ่มตั้งแต่ความพร้อมทางร่างกาย เพื่อสังเกตผลข้างเคียงยาภูมิคุ้มกันบำบัด

ก่อนเริ่มภูมิคุ้มกันบำบัด ผู้ป่วยควรบอกแพทย์เกี่ยวกับประวัติการรักษาทั้งหมดที่เคยรักษามา ควรแจ้งให้แพทย์ทราบหากคุณ :
มี โรคภูมิต้านทานเนื้อเยื่อตัวเอง (Autoimmune diseases)

  • เคยการปลูกถ่ายอวัยวะหรือสเต็มเซลล์

  • มีปัญหาการหายใจ

  • มีปัญหาโรคตับ

  • กำลังตั้งครรภ์หรือวางแผนที่จะตั้งครรภ์

  • กำลังให้นมลูกหรือวางแผนที่จะเริ่มให้นมลูก

  • กําลังรักษาอาการติดเชื้อใดๆ อยู่

  • บวมที่ใบหน้า เปลือกตา ริมฝีปาก ลมพิษ

  • หน้ามืด เป็นลม แน่นหน้าอก หายใจลําบาก

  • ผื่นแดง ตุ่มพอง ผิวหนังหลุดลอก มีจ้ำตามผิวหนัง หรือเลือดออกผิดปกติ

  • ตัวเหลืองตาเหลือง คลื่นไส้อาเจียนรุนแรง เจ็บชายโครงขวา เซื่องซึม ปัสสาวะสีชา เลือดออกง่ายกว่าปกติ หิวน้อยลง

  • ท้องเสีย ถ่ายเหลว ถ่ายบ่อย ถ่ายปนเลือด อุจจาระมีสีดําหรือเหนียว ปวดท้องรุนแรง

  • ปวดหัวแบบผิดปกติ เหนื่อยล้า น้ำหนักตัวผิดปกติ หน้ามืดหรือเป็นลม หิวบ่อย หรือหิวน้ำบ่อยกว่าปกติ ผมร่วง 

  • กล้ามเนื้ออ่อนแรงรุนแรง ชาหรือเสียวที่ปลายมือปลายเท้า มีไข ้สับสนมึนงง อารมณ์ แปรปรวน

โรช ไทยแลนด์ ตระหนักถึงความสำคัญของโอกาสการเข้าถึงการรักษาที่มีประสิทธิภาพเพื่อผู้ป่วยโรคมะเร็ง การรักษาโรคมะเร็งและโรคหายากอย่าง ฮีโมฟีเลีย มีความซับซ้อน ต้องอาศับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจากหลายสาขา และผู้ป่วยต้องการการดูแลอย่างต่อเนื่อง ภายใต้โครงการช่วยเหลือในการลดค่าใช้จ่ายสำหรับผู้ป่วย เป็นสิ่งหนึ่งที่อาจช่วยเหลือผู้ป่วยและผู้ดูแลได้

หากประสงค์เข้าร่วมโครงการ RPAP สามารถสมัครผ่านเว็บไซต์ หรือติดต่อเบอร์โทรศัพท์ 02-161-4948 เพื่อขอทราบข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับโครงการ RPAP

อ้างอิง :

  1. http://hocc.medicine.psu.ac.th/files/khowledge/10oct_2017.pdf

  2. Tecentriq [package insert]. F. Hoffmann-La Roche Ltd, Basel, Switzerland; May2020

M-TH-00002379

รายละเอียดเพิ่มเติมสำหรับโรคมะเร็ง

ดูรายละเอียดโรคมะเร็ง

บทความเพิ่มเติม

ดูบทความทั้งหมด