โรคฮีโมฟีเลีย คือความผิดปกติเกี่ยวกับอาการเลือดออกที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม ซึ่งทำให้เลือดไม่สามารถแข็งตัว อันนำไปสู่ภาวะเลือดออกอย่างรุนแรงหาฟควบคุมไม่ได้อาจจะนำไปสู่ความพิการหรือเสียชีวิต ทำให้เลือดออกเองได้หรือเกิดหลังจากการบาดเจ็บเล็กน้อย เมื่อผู้ป่วยจะมีอาการเลือดออกจะออกเป็นเวลานานกว่า1 และอาการเลือดออกที่กลับเป็นซ้ำ อาจก่อให้เกิดความบกพร่องของร่างกาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณข้อต่อก่อให้เกิดความพิการได้
โรคฮีโมฟีเลียเป็นความผิดปกติที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม ซึ่งส่งผ่านมาจากบิดามารดาไปสู่บุตรและอยู่บนโครโมโซม X ในลักษณะยีนด้อย ซึ่งหมายความว่ามักจะมีการส่งผ่านความผิดปกตินี้จากมารดาสู่บุตร ถึงแม้เป็นไปได้ว่าผู้หญิงจะได้รับผลกระทบจากโรคฮีโมฟีเลีย แต่ก็พบได้น้อยมาก และสัดส่วนมากที่สุดของประชากรโรคฮีโมฟีเลียคือผู้ชาย
โรคฮีโมฟีเลียเอ คือโรคฮีโมฟีเลีย2 ชนิดที่พบได้บ่อยที่สุด ส่งผลกระทบต่อประชากรประมาณ 320,000 รายทั่วโลก3,4 ผู้ที่เป็นโรคฮีโมฟีเลียเอไม่มีโปรตีนที่สำคัญชนิดหนึ่งที่เรียกว่าแฟคเตอร์ 8 หรือมีอยู่ในระดับต่ำ โปรตีนชนิดนี้มีบทบาทสำคัญยิ่งต่อการแข็งตัวของเลือด
โรคฮีโมฟีเลียเอได้รับการจัดกลุ่มตามระดับความรุนแรงเป็นสามกลุ่ม5 คือ เล็กน้อย ปานกลาง และรุนแรง โดยอิงตามระดับแฟคเตอร์ 8 ที่ขาดหายไปในเลือดของผู้ที่เป็นโรคนี้ ผู้ที่เป็นโรคฮีโมฟีเลียเอประมาณร้อยละ 50 – 60 มีความผิดปกติในลักษณะรุนแรงและผู้ป่วยกลุ่มนี้มักมีอาการ6 เลือดออกบริเวณข้อต่อหรือกล้ามเนื้อ7 บ่อย ๆ หนึ่งหรือสองครั้งต่อสัปดาห์ อาการเลือดออกดังกล่าวอาจบ่งบอกถึงข้อกังวลด้านสุขภาพที่สำคัญ เนื่องจากมักเป็นสาเหตุของอาการปวดและสามารถนำไปสู่อาการบวมเรื้อรัง ข้อผิดรูป ความสามารถในการเคลื่อนไหวลดลง และข้อต่อเกิดความเสียหายในระยะยาว8 นอกเหนือจากผลกระทบด้านคุณภาพชีวิตแล้ว9 อาการเลือดออกดังกล่าวอาจเป็นอันตรายคุกคามต่อชีวิต หากเกิดขึ้นในอวัยวะสำคัญ เช่น สมอง10,11
เนื่องจากโรคฮีโมฟีเลียเป็นลักษณะที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม ความผิดปกติมักได้รับการวินิจฉัยเมื่อผู้ป่วยมีอายุน้อยมาก อาการแสดงและอาการอาจรวมถึง:
ผู้ที่เป็นโรคฮีโมฟีเลียและผู้ดูแลต้องมาที่ศูนย์บ่อยครั้งเพื่อรับการรักษา ซึ่งเสียเวลาอย่างมากและส่งผลกระทบต่อชีวิตของพวกเขาอย่างมีนัยสำคัญ
ผู้ที่เป็นโรคฮีโมฟีเลียรายงานว่ามีความยากลำบากในการทำให้การรักษาและชีวิตประจำวันดำเนินไปด้วยกันได้อย่างสมดุล ดังนั้นจึงอาจไม่สามารถให้ความร่วมมือในการปฏิบัติตามการรักษาได้ ส่งผลให้ผู้ป่วยกลุ่มนี้อาจมีอาการเลือดออกที่เป็นอันตรายได้ง่าย
โรคฮีโมฟีเลีย เอ เป็นโรคฮีโมฟีเลียชนิดที่พบได้บ่อยที่สุด โดยพบในประชากรประมาณ 900,000 คนทั่วโลก ผู้ป่วยโรคฮีโมฟีเลีย เอ อาจขาดโปรตีนที่สำคัญชนิดหนึ่งที่เรียกว่าแฟคเตอร์ 8 ที่มีบทบาทสำคัญต่อการแข็งตัวของเลือด หรืออาจมีโปรตีนชนิดนี้ในปริมาณที่ไม่เพียงพอ
ในผู้ที่มีสุขภาพดีเมื่อมีเลือดออก แฟคเตอร์ 8 จะจับตัวกับแฟคเตอร์ 9เอ และแฟคเตอร์ 10 ซึ่งขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนที่สำคัญมากในการสร้างลิ่มเลือดและช่วยทำให้เลือดหยุดไหล แต่อย่างไรก็ตามในผู้ป่วยโรคฮีโมฟีเลีย เอนั้น การขาดแฟคเตอร์ 8 หรือการมีแฟคเตอร์ 8 ในปริมาณที่ไม่เพียงพอจะทำให้กระบวนการแข็งตัวของเลือดนี้ไม่สมบูรณ์และส่งผลต่อความสามารถในการสร้างลิ่มเลือด ภาวะเลือดออกเหล่านี้อาจทำให้เกิดปัญหาด้านสุขภาพที่มีความสำคัญเนื่องจากภาวะนี้มักจะทำให้มีอาการปวด และทำให้เกิดอาการบวมเรื้อรัง มีการผิดรูปของอวัยวะ และทำให้อวัยวะนั้นๆ เคลื่อนไหวได้ลดลง และทำให้ข้อต่อถูกทำลายได้ในระยะยาว นอกจากผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยแล้ว ภาวะเลือดออกเหล่านี้อาจเป็นอันตรายคุกคามต่อชีวิตได้หากเกิดขึ้นในอวัยวะที่สำคัญของร่างกาย เช่น ที่สมอง
References
Canadian Hemophilia Society. What is hemophilia? 2016. Last accessed 08 June 2016: http://www.hemophilia.ca/en/bleeding-disorders/hemophilia-a-and-b/what-is-hemophilia/.
WFH. Guidelines for the management of hemophilia. 2012. Last accessed 08 June 2016: http://www1.wfh.org/publications/files/pdf-1472.pdf.
WFH. Guidelines for the management of hemophilia. 2012. Last accessed 08 June 2016: http://www1.wfh.org/publications/files/pdf-1472.pdf.
Berntorp E, Shapiro AD. Modern haemophilia care. The Lancet 2012; 370:1447-1456
WFH. Severity of hemophilia. 2012. Last accessed on 08 June 2016: http://www.wfh.org/en/page.aspx?pid=643
WFH. Guidelines for the management of hemophilia. 2012. Last accessed 08 June 2016: http://www1.wfh.org/publications/files/pdf-1472.pdf.
WFH. Guidelines for the management of hemophilia. 2012. Last accessed 08 June 2016: http://www1.wfh.org/publications/files/pdf-1472.pdf.
Franchini M, Mannucci PM. Hemophilia A in the third millennium. Blood Rev 2013:179-84.
Flood, E et al. Illustrating the impact of mild/moderate and severe haemophilia on health-related quality of life: hypothesised conceptual models. European Journal of Haematology 2014; 93: Suppl. 75, 9–18.
Young G. New challenges in hemophilia: long-term outcomes and complications. Hematology Am Soc Hematol Educ Program 2012; 2012: 362–8.
Zanon E, Iorio A, Rocino A, et al. Intracranial haemorrhage in the Italian population of haemophilia patients with and without inhibitors. Haemophilia 2012; 18: 39–45.
WFH. Symptoms and diagnosis. 2012. Last accessed on 09 June 2016: http://www.wfh.org/en/page.aspx?pid=640
Elder-Lissai A, Hou Q, Krishnan S. The Changing Costs of Caring for Hemophilia Patients in the U.S.: Insurers’ and Patients’ Perspectives. Presented at: American Society of Hematology Annual Meeting; December 6-9, 2014; San Francisco, CA. Abstract # 199.
Remor, E. Predictors of treatment difficulties and satisfaction with haemophilia therapy in adult patients. Haemophilia 2011; 17, e901-e905.
Hacker MR et al. Barriers to compliance with prophylaxis therapy in haemophilia. Haemophilia 2001; 7: 392-6.
Astermark, J. Overview of Inhibitors. Semin Hematol 2006; 43 (suppl 4):S3-S7.
Whelan SF, et al. Distinct characteristics of antibody responses against factor VIII in healthy individuals and in different cohorts of hemophilia A patients. Blood 2013; 121: 1039–48.
Gomez K, et al. Key issues in inhibitor management in patients with haemophilia. Blood Transfus. 2014; 12: s319–s329.
Berntorp, E. Differential response to bypassing agents complicates treatment in patients with haemophilia and inhibitors. Haemophilia. 2009; 15: 3-10.
M-TH-00001992
This website contains information on products which is targeted to a wide range of audiences and could contain product details or information otherwise not accessible or valid in your country. Please be aware that we do not take any responsibility for accessing such information which may not comply with any legal process, regulation, registration or usage in the country of your origin. which is targeted to a wide range of audiences and could contain product details or information otherwise not accessible or valid