จะเปิดรับอาสาสมัครเข้าสู่การวิจัยในคน ต้องผ่านใครบ้าง?

ก่อนจะเริ่มการวิจัยในคน ต้องมีการทดสอบประสิทธิภาพและความปลอดภัย ในหลอดทดลอง (In vitro) และสัตว์ทดลอง (In vivo) มาก่อน เมื่อได้ผลลัพธ์ที่ดีจึงจะเริ่มการวิจัย

ในคนต่อไป แต่ก่อนจะเริ่มเปิดรับอาสาสมัครได้นั้น จะต้องผ่านขั้นตอนมากมายเพื่อให้แน่ใจว่าอาสาสมัครจะได้รับประโยชน์สูงสุดจากการเข้าร่วม

ขั้นตอนแรก โครงการวิจัยในคนต้องมีการเปิดเผยข้อมูลเบื้องต้นให้คนทั่วไปสามารถเข้าถึง ได้ผ่านทางเว็บไซต์สาธารณะที่น่าเชื่อถือ โดยในประเทศไทยมีแหล่งข้อมูลที่นิยมใช้กันคือ

  • แหล่งรวบรวมข้อมูลของการทำวิจัยในคน 220 ประเทศทั่วโลก เว็บไซต์นี้มีการควบคุมโดยองค์กรจากประเทศสหรัฐอเมริกา 

  • Thai Clinical Trials Registry: TCTR () แหล่งข้อมูลโครงการวิจัยที่ทำในประเทศไทยประเทศเดียว

หลังจากนั้น ผู้วิจัยจะต้องนำโครงการวิจัยไปยื่นให้สำนักงานคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในคนของประเทศไทย (Ethics committee, EC) ทำการตรวจสอบโดยละเอียด ถึงประโยชน์ที่ผู้ป่วยจะได้รับ, ความปลอดภัย, และสิทธิของผู้ป่วย จากคณะกรรมการที่ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับโครงการวิจัยนั้น

ในขณะเดียวกัน ผู้วิจัยจะต้องการยื่นโครงการวิจัยให้กับคณะกรรมการอาหารและยาของไทย (Thai FDA) เพื่อขอนำเข้ายาวิจัย ในกรณีที่มีการนำยาวิจัยมาจากต่างประเทศเพื่อวิจัยในไทย จึงเสมือนมีการตรวจสอบสองรอบทั้งจากคณะกรรมการจริยธรรมและคณะกรรมการอาหารและยา 

เมื่อเอกสารทั้งหมดได้รับการอนุมัติ จะมีการอบรมเตรียมความพร้อมให้แก่ผู้วิจัยและเจ้าหน้าที่ของแต่ละโรงพยาบาลเพื่อให้สามารถปฏิบัติตามระเบียบโครงการวิจัยอย่างถูกต้อง ก่อนจะเริ่มต้นเปิดรับอาสาสมัครเข้ามาในโครงการ

จะเห็นได้ว่า กว่าจะเปิดรับอาสาสมัครได้นั้น จะต้องผ่านการพิจารณาหลายขั้นตอนจากหน่วยงานต่างๆ อาจใช้ระยะเวลาพิจารณาโครงการนานถึง 7 เดือนจึงเริ่มเปิดรับอาสาสมัคร ทั้งนี้เพื่อให้การวิจัยเป็นไปอย่างถูกต้องและยึดถือสิทธิประโยชน์ของอาสาสมัครเป็นสิ่งสูงสุด

M-TH-00001345

บทความเพิ่มเติม

ดูบทความทั้งหมด